| | เข้าสู่ระบบ
งานวิจัยเรื่องนี้มุ่งศึกษาและทำความเข้าใจการเปลี่ยนแปลงวิถีชีวิตของคนท้องถิ่น ตั้งแต่อดีตจนถึงยุคสังคมอุตสาหกรรมในปัจจุบัน มองผ่านปรากฎการณ์เกี่ยวกับความเชื่อและการกราบไหว้บูชาเจ้าพ่อเจ้าแม่ในฐานะสิ่งศักดิ์สิทธิ์และอำนาจเหนือธรรมชาติ ใช้แนวคิดที่มองว่าการแสดงออกเกี่ยวกับความเชื่อสิ่งศักดิ์สิทธิ์เป็นนิเวศวิทยาที่ซ้อนทับกันสองแบบ คือ นิเวศวิทยาทางวัฒนธรรมและนิเวศวิทยาทางการเมือง โดยศึกษาในเขตพื้นที่อำเภอบ้านแพ้วและอำเภอกระทุ่มแบน จังหวัดสมุทรสาคร ในชุมชนไทยเชื้อสายจีน ไทยรามัญ ลาวโซ่งและชุมชนไทย
บทที่ 1 บทนำ น.1
ความเป็นมาของการศึกษาความเชื่อสิ่งศักดิ์สิทธิ์ น.1
วัตถุประสงค์ โจทย์การวิจัย ขอบเขตการวิจัย น.3
ระเบียบวิธีวิจัย น.3
ทบทวนการศึกษาวิจัยและแนวคิดทฤษฎี
บทที่ 2 ชุมชนกับสิ่งศักดิ์สิทธิ์ในอำเภอบ้านแพ้ว น.9
ลักษณะทางภูมิประเทศ การตั้งที่อยู่อาศัย และการทำมาหากิน น.9
ชุมชนมอญในอำเภอบ้านแพ้ว น.16
ชุมชนลาวโซ่ง (ไททรงดำ) ในอำเภอบ้านแพ้ว น.28
ชุมชนจีนในอำเภอบ้านแพ้ว น.35
ศาลเจ้าของคนไทยในอำเภอบ้านแพ้ว น.58
บทที่ 3 ชุมชนกับสิ่งศักดิ์สิทธิ์ในอำเภอกระทุ่มแบน น.91
ลักษณะภูมิประเทศ การตั้งถิ่นฐาน และการทำมาหากิน น.91
ศาลเจ้าของไทย น.94
ชุมชนจีนในอำเภอกระทุ่มแบน น.102
พระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์ในอำเภอบ้านกระทุ่มแบน น.120
พระสงฆ์เกจิอาจารย์ที่ชาวบ้านนับถือบูชาในอำเภอกระทุ่มแบน น.124
บทที่ 4 บทวิเคราะห์ น.127
ร่องรอยความเชื่อของสังคมเกษตรกรรม น.127
นิเวศน์ทางการเมืองในสังคมเกษตรกรรม น.132
ความเชื่อในสังคมทุนนิยมและอุตสาหกรรม น.135
บรรณานุกรม น.145