| | เข้าสู่ระบบ
รายงานวิจัยวัฒนธรรมอคติทางเพศในสังคมไทย ทศวรรษ 2480 ถึงทศวรรษ 2550 เกิดขึ้นจากคำถามวิจัยที่ว่า อะไรคือ "วัฒนธรรม" ที่เกิดจากการมีอคติทางเพศในสังคมไทย และวัฒนธรรมนี้ส่งผลให้เกิดการปิดกั้นและการไม่ยอมรับบุคคลที่มีพฤติกรรมข้ามเพศ (Transgender) และคนรักเพศเดียวกัน (Homosexual) อย่างไรบ้าง ซึ่งในช่วงทศวรรษ 2480 เป็นต้นมา การจัดระเบียบเพศหญิงและเพศชาย (ความคิดเรื่องเพศคู่ตรงข้าม) ถูกถ่ายทอดจากราชสำนักช่วงสมัยรัชกาลที่ 5 แผ่ขยายออกไปสู่สามัญชนอย่างเข้มแข็งในยุครัฐนิยม ทำให้เกิดการควบคุมพลเมืองให้อยู่ในบทบาททางเพศเพียงสองแบบ คือ บทบาทผู้ชายและบทบาทผู้หญิง สังคมไทยได้รับเอาอุดมการณ์และความคิดเรื่องเพศแบบวิทยาศาสตร์มาใช้อบรมสั่งสอน แพร่หลายในระบบการศึกษา หน่วยงาน และภาคธรุกิจทั้งหลาย เด็กที่เกิดมาจึงถูกสั่งสอนให้ปฏิบัติตัวและแสดงพฤติกรรมทางเพศแบบชายหญิงเท่านั้น ถ้าคนใดแสดงแสดงพฤติกรรมไม่เหมาะสมกับเพศกำเนิดจะถูกมองว่า เบี่ยงเบนทางเพศ ฉะนั้นสังคมไทยจึงปฏิเสธและไม่ยอมรับคนข้ามเพศ/รักเพศเดียวกัน เช่น กะเทย สาวประเภทสอง เกย์ ทอมดี้ เลสเบี้ยน
บทนำ อะไรคืออคติทางวัฒนธรรม ในมิติเพศภาวะและเพศวิถีในสังคมไทย "สมัยใหม่" ตั้งแต่ทศวรรษ 2480 ถึง ทศวรรษ 2550 น.1
บทที่ 2 รัฐและระบบคิดเรื่องเพศในสังคมไทย "สมัยใหม่" ทศวรรษ 2480 เป็นต้นมา น.21
บทที่ 3 การถ่ายทอดอคติทางเพศผ่านสถาบันการศึกษาและสุขภาพจิต น.38
บทที่ 4 ภาพสะท้อนความคิดเรื่องเพศจากชีวิตเกย์ กะเทย ทอม ดี้ น.68
บทที่ 5 บทวิเคราะห์ การทำความเข้าใจอคติทางเพศในสังคมไทย ผ่านการยอมรับและปฏิเสธเกย์ กะเทย ทอมดี้ น.98
บรรณานุกรม น.120