| | เข้าสู่ระบบ
งานวิจัยเรื่องนี้มุ่งศึกษาเพศภาวะของม้าขี่ที่เป็นปู๊เมีย ซึ่งคำว่า ม้าขี่ เป็นภาษาถิ่นล้านนาใช้เรียกการลงประทับร่างทรงของผีเจ้านาย และผู้วิจัยได้เลือกใช้คำว่า ปู๊เมีย เพื่อเรียกกะเทยหรือผู้ที่มีลักษณะรวมกันระหว่างชายกับหญิงตามพจนานุกรมล้านนา รวบรวมและเรียบเรียงโดยศาสตรจารย์เกียรติคุณ มณีพยอมยงค์ การศึกษาพิธีกรรมทรงผีเจ้านายจัดเป็นวัฒนธรรมสำคัญอย่างหนึ่ง สามารถนำมาเรียนรู้และทำความเข้าใจสังคมล้านนาหรือบริเวณภาคเหนือตอนบนของประเทศไทยในด้านความหลากหลายทางเพศภาวะ จากเดิมที่จำกัดเฉพาะเพศหญิงเท่านั้น การศึกษาม้าขี่ปู๊เมียในพิธีกรรมทรงผีเจ้านาย จึงเน้นย้ำให้ความสำคัญกับสังคมพหุวัฒนธรรมหรือความหลากหลายทางเพศภาวะที่แตกต่างไปจากผู้หญิงและผู้ชายในสังคมล้านนา
บทนำ น.1
ความสำคัญของปัญหา น.1
คำถามหลักในการวิจัย น.6
วัตถุประสงค์ น.6
กรอบความคิดเชิงทฤษฎีที่ใช้ในการศึกษา น.7
งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง น.8
แผนการทำวิจัย น.9
ข้อตกลงเบื้องต้น น.11
บทที่ 2 สังคมล้านนากับผีเจ้านาย น.12
ลักษณะวัฒนธรรมสายแม่ของดินแดนล้านนา น.12
บทบาทของผู้หญิงในสังคมล้านนา น.15
บทบาทของผู้ชายในสังคมล้านนา น.15
ผีเจ้านาย น.17
บทบาทสำคัญของผีเจ้านาย น.17
ม้าขี่ : เพศภาวะและการกลายเป็น น.19
บทบาทพิเศษของม้าขี่ น.21
พิธีกรรมทรงผีเจ้านาย: การฟ้อนและการประทับทรง น.21
การปฏิบัติตัวของม้าขี่ น.23
บทที่ 3 ม้าขี่ปู๊เมีย น.25
ปู๊เมียในสังคมล้านนา น.25
การปฏิบัติตัวของม้าขี่ปู๊เมีย น.26
การสัมภาษณ์ม้าขี่ล. น.27
การสัมภาษณ์ม้าขี่ต. น.32
การสัมภาษณ์ม้าขี่ท. น.39
การสัมภาษณ์ม้าขี่ป. น.45
การสัมภาษณ์ม้าขี่อ. น.50
บทสรุป น.61
บรรณานุกรม น.62