| | เข้าสู่ระบบ
นาฏกรรมยี่เกหรือลิเก คือ คำเดียวกันหมายถึงศิลปะการแสดงที่มีเนื้อร้อง ท่าทาง บทเจรจา พัฒนาการของการแสดงยี่เกมีมาช้านาน สันนิษฐานว่าเข้ามาตั้งแต่สมัยอยุธยา ส่วนยี่เกเริ่มแสดงในสังคมไทยราวสมัยรัชกาลที่ 5 ขอพระราชทานพระบรมราชานุญาตเล่นถวายเป็นมหรสพในงานพระราชพิธีบำเพ็ญพระราชกุศล การแสดงยี่เกนั้นแต่เดิมผู้แสดงมักเป็นชายล้วน ซึ่งเป็นขนบการแสดงของไทย การแสดงขณะนั้นผูกโยงกับวิธีคิดเรื่องเพศแบบชาวบ้านในสังคมไทยที่รับรู้การแบ่งเพศชายหญิงจากการแต่งกายในการแสดง โดยชาวบ้านไม่ได้สนใจว่าการแสดงออกตัวตน อารมณ์ ความปรารถนาทางเพศของผู้แสดงมากไปกว่าบทบาทที่แสดง คติความคิดเรื่องเพศก็เปลี่ยนผ่านต่อมาในยุค จอมพล ป.พิบูลสงคราม กำหนดนโยบายรัฐ รวมถึงเปลี่ยนระบบวิธีคิดเรื่องเพศให้กับชาวบ้านหันมายอมรับการจัดแบ่งเพศตามแบบตะวันตก การที่ให้ผู้ชายมารับบทเป็นตัวนางเป็นวิธีคิดเรื่องเพศที่รัฐพยายามปฏิเสธด้วยการออกพระราชกฤษฎีกา ห้ามให้มียี่เกคณะใดเป็นชายล้วนเล่น วิธีการเหล่านี้จึงมีผลให้การแสดงยี่เกชายล้วนต้องยุติบทบาทลงไป
บทนำ น.1
บทที่ 2 มองให้ "เพศ" ในสังคมไทย น.9
บทที่ 3 นาฏกรรมยี่เกในยุคจอมพลป.พิบูลสงคราม น.17
บทที่ 4 นางยี่เกชายสิ่งชำรุดในยุครัฐนิยม น.28
บรรณานุกรม น.57