| | เข้าสู่ระบบ
การศึกษาการช่วยเหลือร่วมกันในพื้นที่ทางวัฒนธรรม มีความจำเป็นอย่างยิ่งต่อการศึกษาความหมายของการดำรงอยู่ของสังคมประเพณี เพื่อการอยู่รอดร่วมกันของกลุ่มคนในพื้นที่ทางวัฒนธรรมเดียวกัน ในจิตสำนึกและค่านิยมทางวัฒนธรรม ประวัติศาสตร์ของการพัฒนารูปแบบ ความหมายของการช่วยเหลือกันของคนในอดีตถึงปัจจุบัน ฯลฯ โดยพื้นที่การศึกษานั้นเป็นการศึกษาเปรียบเทียบพื้นที่วัฒนธรรมที่ต่างมีตำนานของตนเอง พื้นที่หนึ่งมีตำนานเจ้าบ่อคำแดงเป็นตัวกลางในการเชื่อมคนกลุ่มต่าง ๆ ส่วนอีกกลุ่มคือ พื้นที่ทางวัฒนธรรมวัดเขาน้อย อยู่ในอำเภอสิชล จังหวัดนครศรีธรรมราช มีความสัมพันธ์สำนึกร่วมกันผ่านการใช้สถานที่และสถาบันทางสังคมเดียวกันคือ วัดเขาน้อย โดยงานวิจัยเรื่องนี้ประกอบด้วย 6 ส่วน อันได้แก่ การช่วยเหลือร่วมกันของพื้นที่ทางวัฒนธรรมในท้องถิ่น : กรณีศึกษาพื้นที่วัฒนธรรมวัดเขาน้อยและพื้นที่วัฒนธรรมเจ้าบ่อคำแดง (เล่มที่ 1) ประวัติศาสตร์สังคมวัฒนธรรมวัดเขาน้อย (เล่มที่ 2) ประวัติศาสตร์สังคมวัฒนธรรมเจ้าบ่อคำแดง (เล่มที่ 3) จดหมายเหตุพื้นที่ทางวัฒนธรรมวัดเขาน้อย (เล่มที่ 4) จดหมายเหตุพื้นที่ทางวัฒนธรรมเจ้าบ่อคำแดง (เล่มที่ 5) และคำพื้นถิ่นเรา (เล่มที่ 6)
บทนำ
บทที่ 1 เรามาจากไหน เราอยู่ที่นี้ได้อย่างไร น.1
ตำนานความเชื่อและหลักฐานของเรา น.1
เราเป็นลูกหลานเจ้าบ่อคำแดง น.5
บทที่ 2 ระบบพื้นที่ทำมาหากินกับการปรับตัวของเรา น.12
ระบบพื้นที่ทำมาหากินกับการนำมาใช้ น.12
การปรับตัวในเส้นทางชีวิตของเรา น.14
บทที่ 3 ประวัติศาสตร์สังคมวัฒนธรรม น.19
การหากินแบบยังชีพ (เกลือ ปลา ข้าว=แขนขาของเรา) น.19
การอยู่ในความสัมพันธ์ระบบตลาด น.47
บทที่ 4 อนาคตพื้นที่เจ้าบ่อคำแดง น.95
การผลิตซ้ำอาชีพให้เกิดขึ้น น.95
การคัดเลือกวัฒนธรรมที่เอาตัวรอด น.107
บทสรุป น.114