| | เข้าสู่ระบบ
โครงการวิจัยและพัฒนาพิพิธภัณฑ์ท้องถิ่น กรณีศึกษา 3 แหล่ง ประกอบด้วย พิพิธภัณฑ์พื้นบ้านวัดท่าพูด จ.นครปฐม พิพิธภัณฑ์วัดไหล่หินหลวง จ.ลำปาง และพิพิธภัณฑ์หนังใหญ่วัดบ้านดอน จ.ระยอง โดยมีนักวิจัยภาคสนามประจำอยู่ในแต่ละพื้นที่ จากการศึกษาโดยภาพรวมพบว่า พิพิธภัณฑ์แบบชาวบ้านมีความหลากหลายและยืดหยุ่นกว่าพิพิธภัณฑ์ในเมือง พิพิธภัณฑ์ทั้ง 3 แห่ง มีความใกล้ชิดกับวัดเป็นอย่างมาก การที่พิพิธภัณฑ์มีความคาบเกี่ยวกับวัด ด้านหนึ่งก็สามารถพึ่งพิงทรัพยากรของวัด แต่ในอีกด้านก็ทำให้เกิดบริเวณที่มีความขัดแย้งได้ พิพิธภัณฑ์วัดท่าพูดและวัดไหล่หินเป็นเรื่องราวที่เกี่ยวกับพระสงฆ์องค์สำคัญในประวัติศาสตร์ของชุมชน เป็นที่เคารพศรัทธา ได้รับการจดจำในฐานะตัวแทนชุมชน ขณะที่หนังใหญ่วัดบ้านดอนเป็นมรดกวัฒนธรรมของจังหวัดระยองมากเสียกว่าความเป็นของชุมชนบ้านดอน เนื่องจากตัวหนังมีความเกี่ยวข้องผูกพันจำกัดอยู่เฉพาะในวงของนักแสดงและทายาทเป็นหลัก นอกจากนั้นชุมชนมองบทบาทพิพิธภัณฑ์ในฐานะเป็นสถานที่เก็บรักษาวัตถุสิ่งของ ประกอบกับการเปลี่ยนแปลงของชุมชนมีรูปแบบชีวิตแบบคนเมืองมากขึ้น รวมไปถึงกลุ่มคนอพยพจากที่อื่น ส่งผลให้เกิดช่องว่างระหว่างวัตถุสิ่งของและเนื้อหาความรู้ของมรดกวัฒนธรรมในพิพิธภัณฑ์
บทสรุปสำหรับผู้บริหาร น.(1)
บทคัดย่อ น.(4)
กิตติกรรมประกาศ น.(8)
บทที่ 1 พิพิธภัณฑ์ในบริบทชีวิตพื้นบ้าน: ข้อสังเกตจากการศึกษา น.1
โดย ดร.ปริตตา เฉลิมเผ่า กออนันตกูล
บทที่ 2 สรุปภาพรวมการดำเนินงานและกิจกรรมวิจัยและพัฒนาพิพิธภัณฑ์ท้องถิ่น: กรณีศึกษา โครงการระยะที่ 2 ปี 1 น.24
บทที่ 3 พิพิธภัณฑ์พื้นบ้านวัดท่าพูด จังหวัดนครปฐม: รายงานภาคสนาม น.39
โดย จุฑามาศ ลิ้มรัตนพันธ์
บทที่ 4 พิพิธภัณฑ์ท้องถิ่นวัดไหล่หินหลวง จังหวัดลำปาง: รายงานภาคสนาม น.83
โดย ปราโมทย์ ภักดีณรงค์ และทรงศักดิ์แก้วมูล
บทที่ 5 พิพิธภัณฑ์หนังใหญ่วัดบ้านดอน จังหวัดระยอง: รายงานภาคสนาม น.114
โดย นวลพรรณ บุญธรรม
บทที่ 6 บททบทวนการพัฒนา(งาน)วัฒนธรรม: กรณีพิพิธภัณฑ์ท้องถิ่น น.151
โดย ชีวสิทธิ์ บุณยเกียรติ
ภาคผนวก
ก. การอบรมนักวิจัยภาคสนาม น.164
ข. การประชุมเครือข่ายเพื่อการวิจัยและพัฒนาพิพิธภัณฑ์ท้องถิ่น (ครั้งที่ 1) น.185
ค. การประชุมเชิงปฏิบัติการเพื่อการวิจัยและพัฒนาพิพิธภัณฑ์ท้องถิ่น (ครั้งที่ 2) น.200
ง. บททบทวนการพัฒนา (งาน) วัฒนธรรม: กรณีพิพิธภัณฑ์ท้องถิ่น น.221