| | เข้าสู่ระบบ
ท่ามกลางกระแสการเปลี่ยนแปลงประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน นอกจากส่งผลทางการเมืองและเศรษฐกิจแล้ว ยังส่งผลกระทบต่อประชาคมชาติพันธุ์ทั้งทางตรงและทางอ้อม ซึ่งการอพยพเคลื่อนย้ายของกลุ่มชาติพันธุ์จะเป็นประเด็นปัญหาท้าทายที่นำมาทบทวนและพิจารณาในบริบทที่กำลังเปลี่ยนแปลงไป ทั้งในรูปแบบนโยบายการกำหนดพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษตามแนวชายแดนระหว่างไทยและประเทศเพื่อนบ้าน กลุ่มชาติพันธุ์พลัดถิ่น ซึ่งถือเป็นปรากฏการณ์ทางชาติพันธุ์ของโลกที่เกิดขึ้นมายาวนาน โดยงานศึกษาวิจัยนี้มุ่งศึกษาสภาพสังคมวัฒนธรรมของชุมชนกลุ่ม "กะซอง" และ "ซำเร" ท่ามกลางบริบทเศรษฐกิจการเมืองบริเวณพื้นที่ชายแดนตะวันออกของไทย โดยเฉพาะเมื่อภาครัฐดำเนินนโยบายเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษจังหวัดตราด ส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงอันจะนำมาซึ่งความเข้าใจต่อปรากฏการณ์ร่วมสมัยของชุมชนประชาคมชาติพันธุ์ และพัฒนาแนวนโยบายทางวัฒนธรรมต่อกลุ่มชาติพันธุ์ต่อไป
บทคัดย่อ
กิตติกรรมประกาศ
บทที่ 1 บทนำ น.1
บทที่ 2 กรอบแนวคิดและทบทวนวรรณกรรม น.6
บทที่ 3 สภาพทั่วไปและข้อมูลเบื้องต้นของพื้นที่ศึกษา น.35
บทที่ 4 ชาติพันธุ์วรรณนาว่าด้วยกลุ่มภาษากะซองและซำเร น.60
บทที่ 5 พลวัตทางชาติพันธุ์ในบริบทเศรษฐกิจสังคมพรมแดนตะวันออกไทย น.88
บทที่ 6 บทสรุป น.99
รายการอ้างอิง น.100