| | เข้าสู่ระบบ
โครงการวิจัยตลาดกับวิถีชีวิต ประกอบด้วยบทความวิจัย จำนวน 5 เรื่อง ศึกษาในพื้นที่หลากหลาย เช่น มหาวิทยาลัยมหิดล มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต ตลาดสดแบ๊คควา-ฮานอย พื้นที่ศึกษามีทั้งพื้นที่สาธารณะและพื้นที่ราชการ ยกตัวอย่าง การเกิดตลาดในสถานที่ทำงานซึ่งเป็นหน่วยงานของรัฐนับเป็นปรากฏการณ์ที่น่าสนใจ แสดงถึงความเปลี่ยนแปลงความคิดบางอย่างเกี่ยวกับ "พื้นที่สถานที่ราชการ" มาเป็นพื้นที่ตลาด ซึ่งเป็นพื้นที่สาธารณะที่คนทั่วไปสามารถเข้าไปทำกิจกรรมได้ ขณะเดียวกันตลาดนัดในอีกหลาย ๆ ที่มีความสัมพันธ์และสนองตอบต่อรูปแบบการใช้ชีวิตของผู้คนในพื้นที่ปิดและห่างไกลจากย่านธุรกิจ อย่างชุมชนมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต ก็มีบทบาทหน้าที่ที่แฝงอยู่มากกว่าการเป็นเพียงหนึ่งกลไกในระบบเศรษฐกิจที่ผู้บริโภคสามารถจับจ่ายซื้อสินค้าราคาประหยัด หากจะเปรียบเทียบกับตลาดอื่น ๆ ในพื้นที่สาธารณะภายนอกมหาวิทยาลัย อย่างมีนัยยะสำคัญ
1.ตลาดนัดมหาวิทยาลัยมหิดล : การเปลี่ยนแปลงเชิงพื้นที่
โดย อธิตา สุนทโรทก
2.ตลาดนัดชั่วคราวและแง่มุมบางประการของสินค้ามือสองในชุมชนมหาวิทยาลัธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต
โดย ศิรินทร์ ใจเที่ยง
3.ตลาดวัดวังก์ : ตลาดชายขอบของคนพลัดถิ่น
4.ตลาดกับวิถีชีวิต : บทสำรวจเบื้องต้นเกี่ยวกับการศึกษาเรื่องตลาดในสังคมไทย
โดย กิตติพร ใจบุญ
5.เล่าเรื่องการจับจ่ายในตลาดสดแบ๊คควา-ฮานอย : การค้าขายชีวิตผู้หญิง และสังคมเวียดนามยุค "เศรษฐกิจการตลาด"
โดย ฆัสรา ขมะวรรณ มุดดาวิจิตร