| | เข้าสู่ระบบ
หมู่บ้านลอยน้ำของไทย เป็นการศึกษาเปรียบเทียบ โดยเน้นการสำรวจภาคสนามของหมู่บ้านลอยน้ำที่แม่น้ำสะแกกรัง จังหวัดอุทัยธานี ซึ่งเป็นหมู่บ้านที่มีผังเรือนแพแบบเกาะกลุ่ม กับหมู่บ้านที่แม่น้ำน่าน จังหวัดนครสวรรค์ ซึ่งเป็นหมู่บ้านที่มีเรือนแพเกาะยาวไปตามลำน้ำ โดยการเสนอรายละเอียดเกี่ยวเนื่อง ระหว่างนิเวศวิทยาวัฒนธรรม ความเชื่อ และสถาปัตยกรรม เน้นการสำรวจทางกายภาพด้วยภาพถ่าย และการรังวัดตัวเรือน ครอบคลุมการสำรวจหมู่บ้านและองค์ประกอบที่สัมพันธ์กับหมู่บ้าน ตัวเรือน และการดำรงชีวิต ผนวกกับการศึกษาจากเอกสารในเนื้อหาของประวัติความเป็นมา การตั้งถิ่นฐาน ระบบสังคมและเศรษฐกิจ ซึ่งสัมพันธ์กับชีวิตและการอยู่อาศัย รวมทั้งการสัมภาษณ์จากผู้อยู่อาศัยเพื่อให้ทราบถึงอายุเรือน ระยะเวลาการอยู่อาศัย รวมทั้งแนวโน้มการย้ายถิ่นฐาน
บทคัดย่อ
รายงานย่อ
คำนำ น.17
คำขอบคุณ น.18
สารบัญภาพประกอบ น.19
นิยามคำศัพท์เฉพาะ น.27
บทที่ 1 บทนำ น.28
บทที่ 2 การตั้งถิ่นฐานทางกายภาพของหมู่บ้านลอยน้ำในโครงการ น.36
บทที่ 3 การจำแนกกลุ่มเรือนแพตามอายุการสร้าง น.46
บทที่ 4 ความเหมือนและความแตกต่างของเรือนแพตามช่วงเวลาการสร้าง น.79
บทที่ 5 สรุปผลการศึกษา น.110
บรรณนิทัศน์เลือกสรร น.130
ประวัติผู้วิจัย น.133