การศึกษาแนวทางและความเป็นไปได้ในการจัดตั้งพิพิธภัณฑ์ชาติพันธุ์ในจังหวัดแม่ฮ่องสอน

 

คำอธิบาย / บทคัดย่อ

จังหวัดแม่ฮ่องสอนเป็นหนึ่งในจังหวัดที่มีผู้คนหลากหลาย ประชากรส่วนใหญ่เป็นกลุ่มชาติพันธุ์ มีไม่น้อยกว่า 10 กลุ่มชาติพันธุ์ ตั้งถิ่นฐานกระจายตัวอยู่ในอำเภอต่างๆ ซึ่งอาจจำแนกออกเป็นกลุ่มสำคัญ 3 กลุ่มด้วยกัน คือ กลุ่มชนพื้นเมือง กลุ่มไทพื้นราบและกลุ่มชาติพันธุ์ส่วนน้อย จากการสำรวจความคิดเห็นประชาชนในพื้นที่ส่วนใหญ่มากกว่าร้อยละ 90 เห็นด้วยกับโครงการจัดตั้งพิพิธภัณฑ์ ทว่าความคาดหวังที่พวกเขามีต่อพิพิธภัณฑ์ชาติพันธุ์เป็นอันดับแรกนั้น ไม่ใช่เรื่องของการเติบโตทางเศรษฐกิจ สร้างรายได้ แต่เป็นเรื่องความสำคัญทางประวัติศาสตร์วัฒนธรรม กลไกสำคัญในการจัดแสดงอัตลักษณ์ วัฒนธรรม การรื้อฟื้นสืบสานภาษา ภูมิปัญญาความรู้ของบรรพชนที่จะเป็นประโยชน์ต่อคนรุ่นหลังต่อไป

  • ประเภท รายงานงานวิจัย 
  • สถานที่พิมพ์ เชียงใหม่
  • สำนักพิมพ์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
  • สิทธิ์ ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน)
  • รูปแบบลิขสิทธิ์ Attribution-NonCommercial (CC BY-NC)

Additional Details

  • ปีที่พิมพ์ 2563
  • จำนวนหน้า 197
  • สารบัญ

    บทสรุปผู้บริหาร  น.(ก)

    บทคัดย่อภาษาไทย  น.(ช)

    บทคัดย่อภาษาอังกฤษ  น.(ญ)

    สารบัญ  น.(ฐ)

    บทนำ  น.1

    บทที่ 1 ระเบียบวิธีวิจัยและทบทวนวรรณกรรม  น.4

    บทที่ 2 กรอบแนวคิด ทฤษฎีที่ใช้ศึกษา  น.12

    บทที่ 3 การตั้งถิ่นฐานของผู้คน กลุ่มชาติพันธุ์ ในพื้นที่จังหวัดแม่ฮ่องสอน  น.24

    บทที่ 4 สภาพเศรษฐกิจสังคมของจังหวัดแม่ฮ่องสอน  น.45

    บทที่ 5 กลุ่มชาติพันธุ์และพิพิธภัณฑ์ท้องถิ่นในจังหวัดแม่ฮ่องสอน  น.61

    บทที่ 6 ผลการสำรวจความคิดเห็นเรื่องการจัดตั้งพิพิธภัณฑ์ชาติพันธุ์  น.89

    บทที่ 7 แนวทางการจัดตั้งพิพิธภัณฑ์ชาติพันธุ์ : จากการประชุมรับฟัง  น.113

    บทที่ 8 สรุปผลการวิจัยและข้อเสนอแนะ  น.134

    บรรณานุกรม  น.141

    ภาคผนวก  น.147

    ประวัตินักวิจัย  น.184

  • ประวัติการสร้างและการเก็บรักษา ปัจจุบันรายงานวิจัยฉบับนี้เก็บรักษาอยู่ที่กลุ่มงานวิจัยและพัฒนา
  • สถาบัน / หน่วยงาน มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ 
  • ภาษาต้นฉบับ ไทย
  • สถานที่ แม่ฮ่องสอน,

ระบบอ้างอิงอัตโนมัติฐานข้อมูลผลงานวิชาการ ศมส.

APA

วสันต์ ปัญญาแก้ว และคณะ. (2563). การศึกษาแนวทางและความเป็นไปได้ในการจัดตั้งพิพิธภัณฑ์ชาติพันธุ์ในจังหวัดแม่ฮ่องสอน. เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. ค้นคืนเมื่อ 9 มกราคม 2568 , จาก ฐานข้อมูลงานวิจัย ศมส.: http://sac-research.sac.or.th/research-item-search.php?ob_id=255

MLA

วสันต์ ปัญญาแก้ว และคณะ. การศึกษาแนวทางและความเป็นไปได้ในการจัดตั้งพิพิธภัณฑ์ชาติพันธุ์ในจังหวัดแม่ฮ่องสอน. มหาวิทยาลัยเชียงใหม่,2563. ฐานข้อมูลงานวิจัย ศมส. [ออนไลน์]. ค้นคืนเมื่อ 9 มกราคม 2568  

HARVARD

วสันต์ ปัญญาแก้ว และคณะ, 2563. การศึกษาแนวทางและความเป็นไปได้ในการจัดตั้งพิพิธภัณฑ์ชาติพันธุ์ในจังหวัดแม่ฮ่องสอน. [Online]. เชียงใหม่มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. จาก ฐานข้อมูลงานวิจัย ศมส.: http://sac-research.sac.or.th/research-item-search.php?ob_id=255 [ค้นคืนเมื่อ 9 มกราคม 2568 ]

File Download

File Name Size Download
ปก 96.6 KB
บทสรุปผู้บริหาร, บทคัดย่อ, สารบัญ 381.35 KB
บทนำ, บทที่ 1 ระเบียบวิธีวิจัยและทบทวนวรรณกรรม 437.86 KB
บทที่ 2 กรอบแนวคิด ทฤษฎีที่ใช้ศึกษา 335.84 KB
บทที่ 3 การตั้งถิ่นฐานของผู้คน กลุ่มชาติพันธุ์ ในพื้นที่จังหวัดแม่ฮ่องสอน 579.69 KB
บทที่ 4 สภาพเศรษฐกิจสังคมของจังหวัดแม่ฮ่องสอน 493.53 KB
บทที่ 5 กลุ่มชาติพันธุ์และพิพิธภัณฑ์ท้องถิ่นในจังหวัดแม่ฮ่องสอน 4.67 MB
บทที่ 6 ผลการสำรวจความคิดเห็นเรื่องการจัดตั้งพิพิธภัณฑ์ชาติพันธุ์ 708.78 KB
บทที่ 7 แนวทางการจัดตั้งพิพิธภัณฑ์ชาติพันธุ์ : จากการประชุมรับฟัง 1.14 MB
บทที่ 8 สรุปผลการวิจัยและข้อเสนอแนะ 204.93 KB
บรรณานุกรม 190.67 KB
ภาคผนวก, ประวัตินักวิจัย 1.91 MB
เอกสารฉบับเต็ม 10.27 MB