ถอดบทเรียนพื้นที่เขตวัฒนธรรมพิเศษ ตามมติคณะรัฐมนตรี 3 สิงหาคม 2553

 

คำอธิบาย / บทคัดย่อ

โครงการถอดบทเรียนพื้นที่เขตวัฒนธรรมพิเศษตามมติคณะรัฐมนตรี 3 สิงหาคม 2553 ได้มีการศึกษาใน 4 พื้นที่ ประกอบด้วย 1) บ้านห้วยหินลาดใน ต.บ้านโป่ง อ.เวียงป่าเป้า จ.เชียงราย 2) บ้านจะแก หมู่ 6 ต.ไล่โว่ อ.สังขละบุรี จ.กาญจนบุรี 3) บ้านหนองมณฑา (มอวาคี) ต.แม่วิน อ.แม่วาง จ.เชียงใหม่ และ 4) บ้านเลตองคุ ต.แม่จัน อ.อุ้มผาง จ.ตาก ผลการศึกษาพบว่า ในอดีตพื้นที่ทั้ง 4 แห่ง มีความโดดเด่นในด้านวัฒนธรรมและวิถีชีวิต ที่เป็นเอกลักษณ์ของชาติพันธุ์กะเหรี่ยง อย่างไรก็ตาม ความเข้าใจของชาวบ้านในชุมชนทั้ง 4 พื้นที่ ต่อความหมายของการประกาศเป็นเขตวัฒนธรรมพิเศษ แบ่งออกได้เป็น 3 ลักษณะ คือ กลุ่มแรก รับรู้และเข้าใจความหมาย ได้แก่ กลุ่มผู้นําชุมชนที่ทํางานใกล้ชิดกับหน่วยงานของรัฐ เช่น ผู้ใหญ่บ้าน กลุ่มที่ 2 เป็นกลุ่มที่ไม่เคยรับรู้และไม่เข้าใจความหมาย หรือเคยได้ยินบ้างแต่ไม่รับรู้ความหมาย และ กลุ่มที่ 3 เป็นกลุ่มที่ไม่ได้ให้ความสําคัญกับการถูกประกาศให้เป็นพื้นที่เขตวัฒนธรรมพิเศษเพราะไม่ รู้สึกว่ามีผลกระทบต่อวิถีชีวิตของพวกเขา แนวทางการบริหารจัดการพื้นที่หลังการประกาศให้เป็นพื้นที่นําร่องเขตวัฒนธรรมพิเศษ ที่สอดคล้องกับเป้าหมายการอนุรักษ์และฟื้นฟูวิถีชีวิตชาวกะเหรี่ยง ควรต้องมีแนวทางที่แตกต่างกันไป เนื่องจากความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นในปัจจุบันของพื้นที่ทั้ง 4 แห่ง มีความแตกต่างกัน คือบ้านห้วย หินลาดในเป็นพื้นที่ซึ่งชุมชนมีความเข้มแข็งในการรักษาอัตลักษณ์ของวัฒนธรรมของกลุ่มชาติพันธุ์ กะเหรี่ยงที่มีมาตั้งแต่อดีต บ้านจะแกเป็นพื้นที่ซึ่งเริ่มมีปัญหาการคุกคามอัตลักษณ์ทางวัฒนธรรมของชุมชน ส่วนบ้านหนองมณฑาและบ้านเลตองคุเป็นพื้นที่ซึ่งมีความเปลี่ยนแปลงทางวัฒนธรรมไปค่อนข้างมาก เมื่อเปรียบเทียบกับช่วงก่อนการได้รับประกาศเป็นเขตวัฒนธรรมพิเศษ 

  • ประเภท รายงาน 
  • สถานที่พิมพ์ กรุงเทพฯ
  • สำนักพิมพ์ วิทยาลัยพัฒนศาสตร์ ป๋วย อึ๊งภากรณ์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
  • สิทธิ์ ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน)
  • รูปแบบลิขสิทธิ์ Attribution-NonCommercial (CC BY-NC)

Additional Details

  • ปีที่พิมพ์ 2563
  • จำนวนหน้า 375
  • สารบัญ
    บทสรุปผู้บริหาร  น.(1)
    บทคัดย่อภาษาไทย  น.(4)
    บทคัดย่อภาษาอังกฤษ  น.(5)
     
    ส่วนที่ 1 บ้านห้วยหินลาดใน ตำบลบ้านโป่ง อำเภอเวียงป่าเป้า จังหวัดเชียงราย  น.1
    บทที่ 1 บทนํา  น.11
    บทที่ 2 ความเป็นมาของชุมชน วัฒนธรรม ประเพณี ของกลุ่มชาติพันธุ์กะเหรี่ยง ในพื้นที่บ้านห้วยหินลาดในตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน  น.15
    บทที่ 3 การจัดการทรัพยากรของชุมชนและการเข้าถึงสิทธิและสวัสดิการต่างๆ ของรัฐ  น.53
    บทที่ 4 การเข้าใจความหมายของการประกาศเป็นเขตวัฒนธรรมพิเศษและกระบวนการสร้างการยอมรับในอัตลักษณ์และวิถีชีวิตในปัจจุบัน  น.91
     
    ส่วนที่ 2 บ้านจะแก หมู่ที่ 6 ตำบลไล่โว่ อำเภอสังขละบุรี จังหวัดกาญจนบุรี  น.125
    บทที่ 1 บทนํา  น.131
    บทที่ 2 ความเป็นมาของชุมชน วัฒนธรรม ประเพณี ของกลุ่มชาติพันธุ์กะเหรี่ยงในพื้นที่บ้านจะแก ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน น.135
    บทที่ 3 การจัดการทรัพยากรของชุมชนและการเข้าถึงสิทธิและสวัสดิการต่างๆ  ของรัฐ  น.181
    บทที่ 4 การเข้าใจความหมายของการประกาศเป็นเขตวัฒนธรรมพิเศษและพลวัตการจัดการพื้นที่ในปัจจุบัน  น.184
     
    ส่วนที่ 3 บ้านหนองมณฑา (มอวาคี) ตําบลแม่วิน อําเภอแม่วาง จังหวัดเชียงใหม่  น.199
    บทที่ 1 บทนํา  น.207
    บทที่ 2 ความเป็นมาของชุมชน วัฒนธรรม ประเพณี ของกลุ่มชาติพันธุ์กะเหรี่ยงในพื้นที่บ้านหนองมณฑาตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน  น.211
    บทที่ 3 การจัดการทรัพยากรของชุมชนและการเข้าถึงสิทธิและสวัสดิการต่างๆ ของรัฐ  น.223
    บทที่ 4 การเข้าใจความหมายของการประกาศเป็นเขตวัฒนธรรมพิเศษและความเปลี่ยนแปลงในปัจจุบัน  น.263
     
    ส่วนที่ 4 บ้านเลตองคุ ตําบลแม่จัน อําเภออุ้มผาง จังหวัดตาก  น.281
    บทที่ 1 บทนํา  น.287
    บทที่ 2 ความเป็นมาของชุมชน วัฒนธรรม ประเพณี ของกลุ่มชาติพันธุ์กะเหรี่ยงในพื้นที่บ้านเลตองคุตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน  น.291
    บทที่ 3 การจัดการทรัพยากรของชุมชนและเข้าถึงสิทธิและสวัสดิการต่างๆ ของรัฐ  น.329
    บทที่ 4 การเข้าใจความหมายของการประกาศเป็นเขตวัฒนธรรมพิเศษและความเปลี่ยนแปลงในปัจจุบัน  น.335
  • ประวัติการสร้างและการเก็บรักษา ปัจจุบันรายงานฉบับนี้เก็บรักษาอยู่ที่ กลุ่มงานสื่อสารความรู้และเครือข่ายสัมพันธ์ งานสนับสนุนกระบวนการฟื้นฟูวิถีชีวิตกลุ่มชาติพันธุ์
  • สถาบัน / หน่วยงาน มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ 
  • ภาษาต้นฉบับ ไทย
  • สถานที่ เชียงราย,กาญจนบุรี,เชียงใหม่,ตาก,

ระบบอ้างอิงอัตโนมัติฐานข้อมูลผลงานวิชาการ ศมส.

APA

นภาพร อติวานิชยพงศ์ และคณะ. (2563). ถอดบทเรียนพื้นที่เขตวัฒนธรรมพิเศษ ตามมติคณะรัฐมนตรี 3 สิงหาคม 2553. กรุงเทพฯ: วิทยาลัยพัฒนศาสตร์ ป๋วย อึ๊งภากรณ์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์. ค้นคืนเมื่อ 20 พฤษภาคม 2567 , จาก ฐานข้อมูลงานวิจัย ศมส.: http://sac-research.sac.or.th/research-item-search.php?ob_id=245

MLA

นภาพร อติวานิชยพงศ์ และคณะ. ถอดบทเรียนพื้นที่เขตวัฒนธรรมพิเศษ ตามมติคณะรัฐมนตรี 3 สิงหาคม 2553. วิทยาลัยพัฒนศาสตร์ ป๋วย อึ๊งภากรณ์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์,2563. ฐานข้อมูลงานวิจัย ศมส. [ออนไลน์]. ค้นคืนเมื่อ 20 พฤษภาคม 2567  

HARVARD

นภาพร อติวานิชยพงศ์ และคณะ, 2563. ถอดบทเรียนพื้นที่เขตวัฒนธรรมพิเศษ ตามมติคณะรัฐมนตรี 3 สิงหาคม 2553. [Online]. กรุงเทพฯวิทยาลัยพัฒนศาสตร์ ป๋วย อึ๊งภากรณ์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์. จาก ฐานข้อมูลงานวิจัย ศมส.: http://sac-research.sac.or.th/research-item-search.php?ob_id=245 [ค้นคืนเมื่อ 20 พฤษภาคม 2567 ]

File Download

File Name Size Download
ปก 76.04 KB
บทสรุปผู้บริหาร, บทคัดย่อ, สารบัญ 270.58 KB
ส่วนที่ 1 บ้านห้วยหินลาดใน ตำบลบ้านโป่ง อำเภอเวียงป่าเป้า จังหวัดเชียงราย 6.1 MB
ส่วนที่ 2 บ้านจะแก หมู่ที่ 6 ตำบลไล่โว่ อำเภอสังขละบุรี จังหวัดกาญจนบุรี 1.9 MB
ส่วนที่ 3 บ้านหนองมณฑา (มอวาคี) ตําบลแม่วิน อําเภอแม่วาง จังหวัดเชียงใหม่ 4.7 MB
ส่วนที่ 4 บ้านเลตองคุ ตําบลแม่จัน อําเภออุ้มผาง จังหวัดตาก 3.83 MB
เอกสารฉบับเต็ม 15.98 MB