| | เข้าสู่ระบบ
มานุษยวิทยา (Anthropology) เป็นสาขาวิชาอันเกี่ยวข้องกับการศึกษามนุษย์ หากขอบเขตของมานุษยวิทยาค่อนข้างกว้าง ครอบคลุมเนื้อหาเกี่ยวกับวัฒนธรรมของสังคมโบราณดั้งเดิมจนถึงสังคมร่วมสมัย วงการมานุษยวิทยาแห่งคริสต์ศตวรรษที่ 19 เป็นต้นมา ในยุคแรกเริ่มบุกเบิกโดยนักมานุษยวิทยาจากฝั่งอังกฤษและอเมริกา นำโดย Sir Edward Burnett Tylor และ Franz Boas ซึ่งได้กรุยทางการศึกษามานุษยวิทยาให้เป็นสาขาวิชาที่เข้มแข็งจวบจนปัจจุบัน ถัดจากนักมานุษยวิทยาสองท่านในรุ่นบุกเบิกแล้ว “ประมวล 10 ผลงานของ 10 นักมานุษยวิทยา” ได้พิจารณาจากผลงาน ชื่อเสียงที่ถูกกล่าวขานเป็นที่รู้จักในแวดวงวิชาการมานุษยวิทยาไทย กอปรกับคุณูปการทางวิชาการอันเป็นที่ประจักษ์และได้รับความนิยมในการอ้างอิงถึงเป็นสำคัญอีก 8 ท่าน นอกจากนั้นแล้ว ยังผนวกรวมนักคิดร่วมสมัยที่มีชื่อเสียงทางสังคมศาสตร์ในโลกตะวันตกชาวฝรั่งเศส 2 ท่านรวมเข้ามาด้วย ได้แก่ มิเชล ฟูโกต์ (Michel Foucault, 1926 -1984) และ ปิแอร์ บูร์ดิเยอ (Pierre Bourdieu, 1930 – 2002) ด้วยพิจารณาว่าผลงานทางวิชาการของทั้งสองส่งผลต่อการนำแนวความคิดเชิงทฤษฎียุคหลังโครงสร้างนิยมได้ถูกนำไปใช้ในการศึกษาค้นคว้าของนักวิชาการและนักศึกษามานุษยวิทยาไทยอย่างกว้างขวาง ดังนั้นจึงนำเสนอ 10 นักมานุษยวิทยาตามยุคสมัยและลำดับเวลาของแต่ละคน ด้วยประวัติโดยสังเขป และแนะนำผลงานหนังสือ บทความ งานรวบรวมผลงานเขียนที่เลือกสรรมา และหนังสือที่เขียนถึงหรือเกี่ยวข้องกับแต่ละท่าน ทั้งในเชิงประวัติส่วนตัว คุณูปการทางวิชาการ และสังคม รวมผลงานการเฉลิมฉลองในวาระพิเศษ หรือรวมผลงานฉบับผู้อ่านทั่วไป
บทนำ น.1
1.เอ็ดเวิร์ด เบอร์เน็ต ไทเลอร์ น.2
2.ฟรานซ์ โบแอส (Franz Boas) น.17
3.โบรนิสลอว์ มาลินอฟสกี้ (Bronislaw Malinowski) น.29
4.รูธ ฟูลตัน เบเนดิกท์ (Ruth Fulton Benedict) น.43
5. มาร์กาเรต มี้ด (Margaret Mead) น.53
6. โคล้ด เลวี่ เสตร้าส์ (Claude Levi-Strauss) น.63
7. มิเชล ฟูโกต์ (Michel Foucault) น.74
8. ปิแอร์ บูร์ดิเยอ (Pierre Bourdieu) น.96
9. คลิฟฟอร์ด เจมส์ เกียร์ซ (Clifford James Geertz) น.109
10. อรชุน อัปปาดูรัย (Arjun Appadurai) น.121
บทส่งท้าย น.132