| | เข้าสู่ระบบ
โครงการ “การปรับตัวในมิติความเชื่อและพิธีกรรมของกลุ่มชาติพันธุ์ลัวะในประเทศไทย และลาว” จัดทำขึ้นเพื่อศึกษาความเชื่อและพิธีกรรมดั้งเดิมของกลุ่มชาติพันธุ์ลัวะในประเทศไทย และประเทศลาว ศึกษาเปรียบเทียบด้านการปรับตัวให้เข้ากับบริบททางสังคมปัจจุบัน ผลการศึกษาพบว่า กลุ่มชาติพันธุ์ลัวะ มีการปรับตัวไปตามพื้นที่อยู่อาศัย เช่น กลุ่มที่อาศัยอยู่บริเวณพื้นที่ราบใกล้กับชุมชนเมืองเชียงใหม่ปรับตัวได้รวดเร็ว มีความกลมกลืนกับกลุ่มชาติพันธุ์อื่นที่ผสมผสานกันอย่างหลากหลายจนแยกไม่ออกเมื่อดำรงชีวิตอยู่ในชุมชนเมือง มีความพยายามในการรวมกลุ่มเพื่อส่งเสริมอัตลักษณ์ด้วยการใช้ประวัติศาสตร์ท้องถิ่นยุคตำนานสร้างเครือข่ายขึ้น ขณะเดียวกันการปรับตัวด้านความเชื่อและพิธีกรรม มีปัจจัยที่เอื้อต่อกันในการปรับลด เพิ่ม และคงที่ในสิ่งที่สืบทอดมา คือ ปัจจัยในการลดจำนวนผีที่เลี้ยงลงเนื่องจากการรับเอาพุทธศาสนาเข้ามาในชุมชน การยกเลิกใช้เครื่องมือเครื่องใช้บางอย่างที่เคยจำเป็นในอดีตเนื่องจากมีสิ่งทดแทนที่ทันสมัยกว่า ประกอบกับความเจริญด้านการรักษาพยาบาล การคมนาคมขนส่ง การศึกษา ขณะเดียวกันในทางตรงกันข้ามการโหยหาประวัติศาสตร์ท้องถิ่นเพื่ออธิบายภูมิหลังความเป็นมา สร้างอัตลักษณ์และตัวตนของกลุ่มชาติพันธุ์ลัวะทำให้เกิดการสร้างประเพณีพิธีกรรมขึ้นใหม่ผ่านตำนานเพื่อให้เกิดความภาคภูมิใจในชาติพันธุ์และยอมรับในความเป็นลัวะและแสดงออกทางอัตลักษณ์มากขึ้น
กิตติกรรมประกาศ น.(ก)
บทคัดย่อ น.(ค)
คำนำ น.(ง)
สารบัญ น.(จ)
สารบัญภาพ น.(ฌ)
บทที่ 1 บทนำ น.1
ความเป็นมาและความสำคัญของการวิจัย น.1
วัตถุประสงค์การวิจัย น.4
ประโยชน์ที่ได้รับจากการวิจัย น.4
ขอบเขตของการวิจัย น.5
นิยามศัพท์เฉพาะ น.5
บทที่ 2 แนวคิดทฤษฎีและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง น.7
แนวคิดทฤษฎี น.7
เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง น.9
บทที่ 3 ระเบียบวิธีวิจัย น.47
วิธีการและขั้นตอนการวิจัย น.47
กลุ่มเป้าหมายในการวิจัย น.48
พื้นที่วิจัย น.49
ข้อมูลทั่วไป น.49
การวิเคราะห์ข้อมูล น.61
บทที่ 4 ความเป็นมา วิถีชีวิต ความเป็นอยู่ของกลุ่มชาติพันธุ์ลัวะ น.65
ประเด็นการเรียกชื่อกลุ่มชาติพันธุ์ลัวะ น.65
ประวัติความเป็นมาของกลุ่มชาติพันธุ์ลัวะ น.68
ตำนาน และนิทานของกลุ่มชาติพันธุ์ลัวะ น.92
วิถีชีวิต ความเป็นอยู่ของกลุ่มชาติพันธุ์ลัวะ น.98
บทที่ 5 วิถีชีวิตความเป็นอยู่และพิธีกรรมเกี่ยวกับชีวิตของกลุ่มชาติพันธุ์ลัวะ น.144
1.สายตระกูล และระบบเครือญาติ น.145
2.การสืบผีในตระกูล น.148
3.การสืบทอดตำแหน่งผู้นำในหมู่บ้าน น.151
4.พิธีกรรมเลี้ยงผีบรรพบุรุษ น.154
5.วิถีชีวิตความเป็นอยู่ และพิธีกรรมเกี่ยวกับชีวิต น.160
บทที่ 6 พิธีเลี้ยงผี และพิธีกรรมเกี่ยวกับการเกษตร น.179
พื้นที่ศักดิ์สิทธิ์ที่มีความสัมพันธ์กับพิธีเลี้ยงผี น.181
พิธีกรรมเลี้ยงผีในระดับต่างๆ น.189
การเลี้ยงผีในระบบเกษตรกรรม น.210
บทที่ 7 การปรับตัวที่เกี่ยวกับความเชื่อและพิธีกรรม น.226
การปรับตัวด้านความเชื่อ และพิธีกรรม น.227
สถานการณ์ปัจจุบัน การเปลี่ยนแปลงและปัญหาที่ประสบอยู่ น.241
การจัดการแก้ไขปัญหาในพื้นที่ น.246
บทที่ 8 บทสรุป น.251
สรุปผล น.251
อภิปรายผล น.253
ข้อเสนอแนะ น.257
บรรณานุกรม น.258