| | เข้าสู่ระบบ
โครงการวิจัยเรื่อง “พัฒนาการการเคลื่อนย้ายแรงงานและการปรับตัวของแรงงานข้ามชาติไทใหญ่ในตลาดแรงงานอาเซียน: กรณีแรงงานข้ามชาติไทใหญ่ในจังหวัดเชียงใหม่” เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ เพื่อศึกษาพัฒนาการการเคลื่อนย้ายแรงงานและการปรับตัวของแรงงานข้ามชาติไทใหญ่ โดยมีพื้นที่ศึกษาในอำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ และเก็บข้อมูลเพิ่มเติมที่อำเภอเปียงหลวง อำเภอเวียงแหง จังหวัดเชียงใหม่ และเมืองตองยี รัฐฉาน ประเทศสหภาพเมียนมาร์ ผลการวิจัยพบว่า แรงงานไทใหญ่ที่เข้ามาทำงานในอำเภอเมืองจังหวัดเชียงใหม่มีทั้งแรงงานถูกกฎหมายและแรงงานผิดกฎหมาย แรงงานเหล่านี้พัฒนาการการเคลื่อนย้ายเข้ามาในประเทศไทยแบ่งออกเป็น 4 ยุค ซึ่งในแต่ละยุคมีปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการเคลื่อนย้ายแตกต่างกัน ทั้งปัจจัยในประเทศสหภาพเมียนมาร์และปัจจัยในประเทศไทย
บทคัดย่อภาษาอังกฤษ น.(ก)
บทคัดย่อภาษาไทย น.(ข)
สารบัญ น.(ค)
สารบัญภาพ น.(จ)
สารบัญตาราง น.(ฉ)
บทที่ 1 บทนำ น.1
ความเป็นมาของการวิจัย น.1
วัตถุประสงค์ น.6
ประโยชน์ที่ได้รับจากการวิจัย น.6
ขอบเขตของการวิจัย น.7
นิยามศัพท์ น.7
บทที่ 2 การทบทวนวรรณกรรมและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง น.9
ทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับการย้ายถิ่น (Immigration Theory) น.9
สถานการณ์การเคลื่อนย้ายแรงงานของแรงงานข้ามชาติไทใหญ่ น.15
การปรับตัวของแรงงานข้ามชาติไทใหญ่ น.30
สถานการณ์ตลาดแรงงานในอาเซียน น.38
งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง น.45
บทที่ 3 วิธีดำเนินงานวิจัย น.54
ขั้นตอนและวิธีการวิจัย น.54
เครื่องมือในการวิจัย น.58
ประชากรและกลุ่มเป้าหมาย น.60
พื้นที่วิจัย น.60
บทที่ 4 ผลการศึกษา น.62
บริบทจังหวัดเชียงใหม่ น.62
ค่านิยมของชาวไทใหญ่ในการเดินทางมาทำงานในประเทศไทย น.67
แหล่งที่อยู่อาศัยของแรงงานไทใหญ่ในอำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ น.68
พัฒนาการการเคลื่อนย้ายแรงงานของแรงงานข้ามชาติไทใหญ่ในจังหวัดเชียงใหม่ น.70
การปรับตัวของแรงงานข้ามชาติไทใหญ่ในจังหวัดเชียงใหม่ น.105
ปัญหาที่ชาวไทใหญ่ประสบเมื่อย้ายเข้ามาอยู่ในประเทศไทย น.119
ปัจจัยที่ส่งผลให้แรงงานชาวไทใหญ่กลับไปยังประเทศเมียรมาร์ น.121
บทที่ 5 สรุปผลและข้อเสนอแนะจากการวิจัย น.127
สรุปผลการวิจัย น.127
การอภิปรายผลการวิจัย น.130
ข้อเสนอแนะจากการวิจัย น.134
บรรณานุกรม น.137