ความสัมพันธ์ของกลุ่มชาติพันธุ์ลื้อในจีน ลาว และไทย

นักวิจัย : วิชุลดา มาตันบุญ, ปี : 2562

 

คำอธิบาย / บทคัดย่อ

โครงการวิจัยเรื่อง ความสัมพันธ์ของกลุ่มชาติพันธุ์ลื้อในจีน ลาว และไทย เล่มนี้ เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) ที่มีพื้นที่เป้าหมายงานวิจัยคืออำเภอเชียงของ จังหวัดเชียงราย และเก็บข้อมูลบางส่วนที่ชุมชนลื้อแขวงบ่อแก้ว สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว และชุมชนลื้อที่เมืองสิบสองปันนา มนฑลยูนนาน สาธารณรัฐประชาชนจีน ผลการวิจัยพบว่า ชาวลื้อทั้งสามประเทศมีการยึดโยงความสัมพันธ์กันบนฐานของความเป็นชาติพันธุ์ลื้อด้วยกัน มีการยึดโยงความสัมพันธ์ผ่านระบบเครือญาติ และเครือญาติโดยการสมรส ผ่านงานประเพณีและวัฒนธรรม ประวัติศาสตร์และที่มาของคนลื้อแต่ละพื้นที่ ความเชื่อด้านผีบรรพบุรุษและสายสกุล รวมถึงผีบ้านและผีเมืองที่ชาวลื้อเคารพนับถือ มีบางส่วนที่มีการยึดโยงความสัมพันธ์ผ่านเครือข่ายอย่างเป็นทางการผ่านการเข้าร่วมกิจกรรมของหน่วยงานภาครัฐ และความสัมพันธ์ผ่านเครือข่ายการค้าขายและการทำธุรกิจ ในปัจจุบันปัจจัยที่สำคัญที่ช่วยให้คนลื้อได้กระชับความสัมพันธ์กันมากขึ้นแม้จะอยู่คนละประเทศคือการมีเครือข่ายอินเตอร์เน็ตที่ช่วยให้มีการติดต่อสื่อสารกันได้เร็วและง่ายขึ้น

  • ประเภท รายงานงานวิจัย 
  • สถานที่พิมพ์ เชียงใหม่
  • สำนักพิมพ์ สถาบันวิจัยสังคม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
  • สิทธิ์ ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน)
  • รูปแบบลิขสิทธิ์ Attribution-NonCommercial (CC BY-NC)

Additional Details

  • รหัส LC RS164 .ว62 2562
  • ปีที่พิมพ์ 2562
  • จำนวนหน้า 116
  • สารบัญ

    บทคัดย่อภาษาอังกฤษ  น.(ก)

    บทคัดย่อภาษาไทย  น.(ข)

    สารบัญ  น.(ค)

    สารบัญภาพ  น.(จ)

    บทที่ 1 บทนำ  น.1

                ความเป็นมาของการวิจัย  น.1

                วัตถุประสงค์การวิจัย  น.2

                ประโยชน์ที่ได้รับจากการวิจัย  น.2

    ขอบเขตการวิจัย  น.3

                นิยามศัพท์  น.4        

    บทที่ 2 การทบทวนวรรณกรรมและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง  น.5

    แนวคิดเครือข่าย (Networking Concept)  น.5

    แนวคิดความสัมพันธ์ข้ามชาติ (Transnational Ties Concept)  น.10

    แนวคิดชาติพันธุ์ลื้อ (Lue Ethnic group Concept)  น.13

    งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง  น.19

    บทที่ 3 วิธีดำเนินงานวิจัย  น.24

                ขั้นตอนและวิธีการการวิจัย  น.24

    เครื่องมือที่ใช้การวิจัย  น.29

    ประชากรและกลุ่มเป้าหมายในการวิจัย  น.31

    พื้นที่วิจัย  น.33

    บทที่ 4 ผลการวิจัย  น.36

                ประวัติศาสตร์ชาติพันธุ์ลื้ออำเภอเชียงของ จังหวัดเชียงราย  น.37

    การยึดโยงความสัมพันธ์ของลื้ออำเภอเชียงของ จังหวัดเชียงรายกับลื้อแขงบ่อแก้ว สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว  น.44

    การยึดโยงความสัมพันธ์ของลื้ออำเภอเชียงของ จังหวัดเชียงราย กับลื้อสิบสองปันนา สาธารณรัฐประชาชนจีน  น.63

    การยึดโยงความสัมพันธ์ของลื้ออำเภอเชียงของ จังหวัดเชียงราย กับลื้อที่สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว และลื้อสาธารณรัฐประชาชนจีน  น.70

    บทที่ 5 สรุปผลการวิจัย อภิปรายผล และข้อเสนอแนะจากการวิจัย   น.82

                สรุปผลการวิจัย  น.82

                อภิปรายผล  น.85

                ข้อเสนอแนะ  น.93

    บรรณานุกรม  น.97

  • ประวัติการสร้างและการเก็บรักษา ห้องสมุดศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร
  • สถาบัน / หน่วยงาน สถาบันวิจัยสังคม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ 
  • ภาษาต้นฉบับ ไทย

ระบบอ้างอิงอัตโนมัติฐานข้อมูลผลงานวิชาการ ศมส.

APA

วิชุลดา มาตันบุญ. (2562). ความสัมพันธ์ของกลุ่มชาติพันธุ์ลื้อในจีน ลาว และไทย. เชียงใหม่: สถาบันวิจัยสังคม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. ค้นคืนเมื่อ 20 พฤษภาคม 2567 , จาก ฐานข้อมูลงานวิจัย ศมส.: http://sac-research.sac.or.th/research-item-search.php?ob_id=241

MLA

วิชุลดา มาตันบุญ. ความสัมพันธ์ของกลุ่มชาติพันธุ์ลื้อในจีน ลาว และไทย. สถาบันวิจัยสังคม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่,2562. ฐานข้อมูลงานวิจัย ศมส. [ออนไลน์]. ค้นคืนเมื่อ 20 พฤษภาคม 2567  

HARVARD

วิชุลดา มาตันบุญ, 2562. ความสัมพันธ์ของกลุ่มชาติพันธุ์ลื้อในจีน ลาว และไทย. [Online]. เชียงใหม่สถาบันวิจัยสังคม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. จาก ฐานข้อมูลงานวิจัย ศมส.: http://sac-research.sac.or.th/research-item-search.php?ob_id=241 [ค้นคืนเมื่อ 20 พฤษภาคม 2567 ]

File Download

File Name Size Download
ปก 61.45 KB
บทคัดย่อ, สารบัญ 1.73 MB
บทที่ 1 บทนำ 622.95 KB
บทที่ 2 การทบทวนวรรณกรรมและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง 3.17 MB
บทที่ 3 วิธีดำเนินงานวิจัย 1.28 MB
บทที่ 4 ผลการวิจัย 6.51 MB
บทที่ 5 สรุปผลการวิจัย อภิปรายผล และข้อเสนอแนะจากการวิจัย 2.36 MB
บรรณานุกรม 1.52 MB
เอกสารฉบับเต็ม 17.21 MB