• หน้าหลัก
  • งานศึกษาวิจัย
  • การศึกษาภูมิปัญญาการดูแลรักษาสุขภาพของกลุ่มชาติพันธุ์ไทขึนในประเทศไทย สาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมา และสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว

การศึกษาภูมิปัญญาการดูแลรักษาสุขภาพของกลุ่มชาติพันธุ์ไทขึนในประเทศไทย สาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมา และสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว

นักวิจัย : กรด เหล็กสมบูรณ์, ปี : 2562

 

คำอธิบาย / บทคัดย่อ

กลุ่มชาติพันธุ์ไทขึนเป็นกลุ่มชาติพันธุ์หนึ่งในอาเซียนที่มีประวัติศาสตร์ความเป็นมายาวนาน เดิมมีถิ่นฐานพำนักอาศัยอยู่ในเมืองเชียงตุง หัวเมืองใหญ่ทางตะวันออกของที่ราบสูงฉาน ในช่วงระยะหลายร้อยปีที่ผ่านมาได้มีการอพยพ เคลื่อนย้าย และตั้งถิ่นฐานเพื่อพำนักอยู่อาศัยอยู่กระจัดกระจายตามพื้นที่ในเมืองเล็กเมืองน้อย รวมไปจนถึงพื้นที่ของสิบสองพันนา โดยการตั้งถิ่นฐานปัจจุบันพบว่าอาศัยอยู่ในหลายพื้นที่ทั้งในสาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมา สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว และในภาคเหนือของประเทศไทย เช่น จังหวัดเชียงใหม่ จังหวัดเชียงราย ในด้านภูมิปัญญาชาวไทขึนมีภูมิปัญญาด้านการดูแลรักษาสุขภาพที่น่าสนใจและน่าศึกษา เพราะใช้การรักษาแบบท้องถิ่นหรือแบบพื้นบ้าน ในลักษณะของการรักษาแบบองค์รวม โดยมีมุมมองต่อสุขภาพความเจ็บป่วยทางกายและทางจิตใจในลักษณะที่ไม่ได้แยกจากกัน ความเจ็บป่วยที่มีอาการต่างกันหรือเป็นโรคต่างกัน อาจจะมีสาเหตุเดียวกัน และมีวิธีการเยียวยารักษาแบบเดียวกัน โดยวิธีการเยียวยาความเจ็บป่วยอาจจะใช้มากกว่าหนึ่งวิธี การรักษาความเจ็บป่วยของชาวไทขึนจึงต้องอาศัยความรู้ที่หลากหลายและมีความสัมพันธ์กันทั้งร่างกาย จิตใจ และสังคมวัฒนธรรม สภาพการเปลี่ยนแปลงในสังคมโลกปัจจุบันโดยเฉพาะเทคโนโลยีทางการแพทย์สมัยใหม่ได้มีบทบาทมาช่วยเยียวยารักษาโรคภัยไข้เจ็บ ส่งผลให้ภูมิปัญญาในการดูแลรักษาสุขภาพดังกล่าว กำลังจะถูกลืมเลือนและสูญหายไปอย่างน่าเสียดาย ซึ่งภูมิปัญญาการดูแลรักษาสุขภาพของกลุ่มชาติพันธุ์ไทขึนของประเทศต่าง ๆ ในอาเซียนนั้น ถือเป็นแหล่งข้อมูลที่สำคัญประการหนึ่งที่สะท้อนให้เห็นถึงสภาพชีวิต วัฒนธรรม ประเพณี ความเชื่อ วิถีความเป็นอยู่ของผู้คนในอดีตที่เกี่ยวข้องกับการดูแลสุขภาพและ การรักษาโรคภัยไข้เจ็บต่าง ๆ ได้อย่างดี สามารถนำมาพัฒนาคลังข้อมูลดิจิทัลภูมิปัญญาการดูแลรักษาสุขภาพ และเป็นแนวทางในการจัดการองค์ความรู้และภูมิปัญญาการดูแลรักษาสุขภาพของกลุ่มชาติพันธุ์ไทขึนในประเทศไทย สาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมา และสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว ซึ่งจะนำมาสู่การแลกเปลี่ยนเรียนรู้และประยุกต์ใช้งานให้เกิดประโยชน์ต่อสังคมต่อไป

 

  • ประเภท รายงานงานวิจัย 
  • สถานที่พิมพ์ เชียงใหม่
  • สำนักพิมพ์ สถาบันวิจัยสังคม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
  • สิทธิ์ ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน)
  • รูปแบบลิขสิทธิ์ Attribution-NonCommercial (CC BY-NC)

Additional Details

  • รหัส LC GN635.T4 .ก43 2562
  • ปีที่พิมพ์ 2562
  • จำนวนหน้า 90
  • สารบัญ

    คำนำ  น.(ก)

    สารบัญ  น.(ข)

    สารบัญภาพ  น.(ง)

    สารบัญตาราง  น.(ฉ)

    บทที่ 1 บทนำ  น.1

    1.1 ที่มาและความสำคัญของปัญหา  น.1

    1.2 วัตถุประสงค์การวิจัย  น.2

    1.3 ขอบเขตการวิจัย  น.3

    1.4 ประโยชน์ที่ได้รับจากการวิจัย  น.3

    1.5 นิยามศัพท์เฉพาะ  น.4

    บทที่ 2 การทบทวนวรรณกรรม  น.5

    2.1  ข้อมูลทั่วไปของชาติพันธุ์ไทขึน  น.5

    2.2  แนวคิดภูมิปัญญาพื้นบ้าน  น.10

    2.3  ลักษณะและการถ่ายทอดภูมิปัญญาท้องถิ่น  น.16

    2.4  แนวคิดการรักษาสุขภาพแบบพื้นบ้าน  น.18

    2.5  ระบบคลังข้อมูล  น.21

    2.6  งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง  น.26

    2.7  กรอบแนวคิดการวิจัย  น.33

    บทที่ 3 ระเบียบวิธีวิจัย  น.35               

    3.1  รูปแบบการวิจัย  น.35

    3.2  วิธีการและขั้นตอนการวิจัย  น.35

    3.3  กลุ่มเป้าหมายการวิจัย  น.36

    3.4  พื้นที่วิจัย  น.37

    3.5  เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย  น.37

    3.6  การวิเคราะห์ข้อมูล  น.38

    บทที่ 4 ผลการวิจัย  น.40

    4.1  ภูมิปัญญาการดูแลรักษาสุขภาพของกลุ่มชาติพันธุ์ไทขึนในประเทศไทย สาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมาร์ และสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว  น.40

    4.2  ปัจจัยที่ส่งผลต่อภูมิปัญญาการดูแลรักษาสุขภาพของกลุ่มชาติพันธุ์ไทขึนในประเทศไทย สาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมาร์ และสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว  น.59

    4.3  คลังข้อมูลดิจิทัลภูมิปัญญาการดูแลรักษาสุขภาพของกลุ่มชาติพันธุ์ไทขึนในประเทศไทย  น.61

    บทที่ 5 สรุป อภิปรายผล และข้อเสนอแนะ  น.71

    สรุปผลการวิจัย  น.71

    อภิปรายผล  น.73

    ข้อเสนอแนะ  น.76

    บรรณานุกรม  น.77

    ภาคผนวก  น.81

     

     

  • ประวัติการสร้างและการเก็บรักษา ห้องสมุดศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร
  • สถาบัน / หน่วยงาน สถาบันวิจัยสังคม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ 
  • ภาษาต้นฉบับ ไทย

ระบบอ้างอิงอัตโนมัติฐานข้อมูลผลงานวิชาการ ศมส.

APA

กรด เหล็กสมบูรณ์. (2562). การศึกษาภูมิปัญญาการดูแลรักษาสุขภาพของกลุ่มชาติพันธุ์ไทขึนในประเทศไทย สาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมา และสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว. เชียงใหม่: สถาบันวิจัยสังคม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. ค้นคืนเมื่อ 9 มกราคม 2568 , จาก ฐานข้อมูลงานวิจัย ศมส.: http://sac-research.sac.or.th/research-item-search.php?ob_id=239

MLA

กรด เหล็กสมบูรณ์. การศึกษาภูมิปัญญาการดูแลรักษาสุขภาพของกลุ่มชาติพันธุ์ไทขึนในประเทศไทย สาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมา และสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว. สถาบันวิจัยสังคม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่,2562. ฐานข้อมูลงานวิจัย ศมส. [ออนไลน์]. ค้นคืนเมื่อ 9 มกราคม 2568  

HARVARD

กรด เหล็กสมบูรณ์, 2562. การศึกษาภูมิปัญญาการดูแลรักษาสุขภาพของกลุ่มชาติพันธุ์ไทขึนในประเทศไทย สาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมา และสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว. [Online]. เชียงใหม่สถาบันวิจัยสังคม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. จาก ฐานข้อมูลงานวิจัย ศมส.: http://sac-research.sac.or.th/research-item-search.php?ob_id=239 [ค้นคืนเมื่อ 9 มกราคม 2568 ]

File Download

File Name Size Download
ปก 72.97 KB
คำนำ, สารบัญ 497.65 KB
บทที่ 1 บทนำ 727.54 KB
บทที่ 2 การทบทวนวรรณกรรม 5.84 MB
บทที่ 3 ระเบียบวิธีวิจัย 748.23 KB
บทที่ 4 ผลการวิจัย 3.47 MB
บทที่ 5 สรุป อภิปรายผล และข้อเสนอแนะ 1.2 MB
บรรณานุกรม 612.84 KB
ภาคผนวก 343.09 KB
เอกสารฉบับเต็ม 13.42 MB