| | เข้าสู่ระบบ
ลูกปัดแก้วจัดเป็นหนึ่งในสินค้าที่ส่งออกแพร่หลายไปทั่วโลก โดยมีอินเดียเป็นศูนย์กลางใหญ่ในการผลิตและส่งออกลูกปัดนานาชนิด ประเทศไทยพบลูกปัดแก้วในแหล่งโบราณคดีตั้งแต่ยุคก่อนประวัติศาสตร์ตอนปลายทั่วทุกภูมิภาค มีสีสัน และรูปทรงที่หลากหลาย ลูกปัดแก้วเหล่านี้มิได้มีประโยชน์ในฐานะเครื่องประดับเพื่อความสวยงามเท่านั้น แต่แสดงให้เห็นถึงการพัฒนาความรู้ทางเทคโนโลยีของมนุษย์ วิถีชีวิตคนในชุมชน ความเชื่อ และการค้าขายของผู้คนในช่วงสมัยดังกล่าว การศึกษาวิจัยนี้มีขอบเขตการศึกษาในช่วงยุคสมัยก่อนประวัติศาสตร์ตอนปลายต่อเนื่องจนถึงสมัยทวารวดี บริเวณพื้นที่ภาคกลางของประเทศไทย เนื่องจากในช่วงสมัยและพื้นที่ศึกษาพบแหล่งโบราณคดีที่มีลูกปัดแก้วจำนวนมาก อีกทั้งเพื่อศึกษาคุณลักษณะต่างๆ ทั้งทางกายภาพและคุณลักษณะทางเคมี องค์ความรู้เรื่องการค้าของผู้คนในสมัยโบราณ และเชื่อมโยงอดีตกับปัจจุบันเพื่อให้เกิดการต่อยอดองค์ความรู้ต่อไป
คำนำ น.2
บทที่ 1 บทนำ น.1
ความเป็นมาและความสำคัญของปัญหา น.6
วัตถุประสงค์ของการวิจัย น.9
ขอบเขตของการวิจัย น.9
ทฤษฎี สมมติฐาน และกรอบแนวความคิดของโครงการวิจัย น.9
ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ น.9
วิธีการดำเนินงานวิจัย น.10
ผลสำเร็จและความคุ้มค่าของการวิจัยที่คาดว่าจะได้รับ น.10
บทที่ 2 ความรู้ปัจจุบันเกี่ยวกับลูกปัดแก้ว น.11
การศึกษาลูกปัดแก้วในต่างประเทศที่น่าสนใจ น.12
การศึกษาทางกายภาพ น.12
การศึกษาทางวิทยาศาสตร์ น.16
การศึกษาลูกปัดแก้วในประเทศไทย น.20
การศึกษาทางกายภาพ น.20
การศึกษาทางวิทยาศาสตร์ น.23
บทที่ 3 แหล่งโบราณคดีและเทคนิควิธีวิจัย น.32
แหล่งโบราณคดียุคก่อนประวัติศาสตร์ตอนปลาย จำนวน 1 แหล่ง น.32
แหล่งโบราณคดียุคก่อนประวัติศาสตร์ตอนปลายต่อเนื่องถึงสมัยทวารวดี จำนวน 4 แหล่ง น.33
แหล่งโบราณคดีสมัยทวารวดี จำนวน 9 แหล่ง น.38
กระบวนการวิเคราะห์ลูกปัดแก้ว น.50
การวิเคราะห์ลูกปัดแก้วทางกายภาพ น.51
สูตรคำนวณสัดส่วนลูกปัด น.53
การวิเคราะห์ลูกปัดแก้วด้วยอุปกรณ์ที่วิทยาศาสตร์ น.55
วิธีวิเคราะห์ น.55
หลักการทำงานทั่วไปของเครื่อง Electron Probe Micro-Analyzer (EPMA) น.56
ธาตุองค์ประกอบหลักของแแก้วที่ทำการวิเคราะห์ น.56
ขั้นตอนการเตรียมตัวอย่างก่อนนำไปวิเคราะห์โดยเครื่อง Electron Probe Micro-Analyzer (EPMA) น.57
บทที่ 4 ผลการศึกษาทางกายภาพและองค์ประกอบทางเคมีของลูกปัดแก้ว น.61
ผลวิเคราะห์ทางกายภาพและองค์ประกอบทางเคมีของลูกปัดแแก้วจากแหล่งโบราณคดี 3 กลุ่ม น.61
แหล่งโบราณคดียุคก่อนประวัติศาสตร์ตอนปลาย น.61
แหล่งโบราณคดียุคก่อนประวัติศาสตร์ตอนปลายต่อเนื่องถึงสมัยทวารวดี น.64
แหล่งโบราณคดีสมัยทวารวดี น.72
บทที่ 5 การอภิปรายผลวิเคราะห์และสรุป น.104
1. รูปทรง น.104
2. สี น.107
3. วิธีการผลิต น.110
ร่องรอยที่ปรากฏบนลูกปัดแก้วจากการผลิตด้วยวิธีดึง น.110
ร่องรอยที่ปรากฏบนลูกปัดแก้วจากการผลิตด้วยวิธีพัน น.112
ร่องรอยที่ปรากฏบนลูกปัดแก้วจากการผลิตโดยการดึงและพัน น.113
ร่องรอยที่ปรากฏบนลูกปัดแก้วจากการผลิตโดยการดึงและแต่งเป็นรูปทรง น.113
บรรณานุกรม น.120