| | เข้าสู่ระบบ
งานศึกษาวิจัยชิ้นนี้ได้สำรวจและศึกษาชุมชนชาติพันธุ์กะเหรี่ยงในพื้นที่จังหวัดสุพรรณบุรี อุทัยธานีและจังหวัดนครสวรรค์ ตั้งแต่ช่วงเดือนพฤศจิกายน 2561 ถึง สิงหาคม 2562 โดยใช้วิธีการศึกษาทางชาติพันธุ์วรรณนา การสัมภาษณ์เชิงลึก การสังเกตการณ์ภาคสนามอย่างมีส่วนร่วมในพิธีกรรมสำคัญของชุมชน โดยสะท้อนให้เห็นว่า พลวัตของชุมชนกะเหรี่ยงในเขตจังหวัดสุพรรณบุรีและอุทัยธานี มีการเปลี่ยนแปลงภายใต้ผลกระทบของการพัฒนาทั้งเรื่องของการใช้ประโยชน์จากที่ดินและป่าไม้ การออกกฎหมายของรัฐบาลเกี่ยวกับเรื่องป่าไม้และที่ดินที่กระทบต่อสิทธิและความเป็นเจ้าของทรัพยากรธรรมชาติ และการเป็นชุมชนดั้งเดิมที่อยู่มาตั้งแต่บรรพบุรุษ การเปลี่ยนแปลงในด้านวิถีการผลิตจากการทำไร่หมุนเวียนสู่การปลูกพืชเชิงเดี่ยวที่เพิ่มมากขึ้น อีกทั้งการเปลี่ยนแปลงของวัฒนธรรมกะเหรี่ยงที่มีความแตกต่างกัน ภายใต้ลัทธิทางความเชื่อทางศาสนาหรือลัทธิเจ้าวัด ทั้งความเชื่อเรื่องด้ายเหลือง ด้ายขาวและกินน้ำสุก ในชุมชนกะเหรี่ยงบริเวณจังหวัดสุพรรณบุรีและอุทัยธานี มีลัทธิเจ้าวัดถือเป็นศูนย์กลางทางความเชื่อและความรู้ทางประเพณีวัฒนธรรมที่สำคัญของชุมชนกะเหรี่ยง การปรับตัวภายใต้วิถีของการท่องเที่ยวและการพัฒนาชุมชนกะเหรี่ยงบริเวณแนวกันชนห้วยขาแข้ง ในขณะที่ชุมชนกะเหรี่ยงในจังหวัดนครสวรรค์ไม่ปรากฏชุมชนกะเหรี่ยงดั้งเดิมที่หลงเหลืออยู่ มีเพียงกะเหรี่ยงนอกหรือกะเหรี่ยงที่มาจากฝั่งพม่าที่เข้ามาทำงานในจังหวัดนครสวรรค์และการรวมกลุ่มของแรงงานข้ามชาติในการจัดงานเชิงวัฒนธรรม การผูกข้อมือกะเหรี่ยง ที่เป็นงานเชิงวัฒนธรรมและเชิงการเมืองที่สำคัญของชาวกะเหรี่ยงบนแผ่นดินข้ามแดน
บทคัดย่องานวิจัย น.(ก)
สารบัญ น.(ค)
บทที่ 1 บทนำ น.1
บทที่ 2 แนวคิด ทฤษฎี และงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง น.10
บทที่ 3 ข้อมูลทั่วไปของชุมชนกะเหรี่ยง จังหวัดสุพรรณบุรี จังหวัดอุทัยธานี และจังหวัดนครสวรรค์ น.28
บทที่ 4 พลวัตและการเปลี่ยนแปลงของกลุ่มชาติพันธุ์กะเหรี่ยงโปว์ในจังหวัดสุพรรณบุรี น.47
บทที่ 5 พลวัตและการเปลี่ยนแปลงของกลุ่มชาติพันธุ์กะเหรี่ยงโปว์ในจังหวัดอุทัยธานี น.116
บทที่ 6 บทวิเคราะห์และประมวลความรู้ชุมชนกะเหรี่ยง 3 จังหวัด น.265
บรรณานุกรม น.277