ชาวโอรังอัสลี ภาคใต้ตอนล่างของประเทศไทย

 

คำอธิบาย / บทคัดย่อ

โอรังอัสลีในจังหวัดยะลาและนราธิวาสอาศัยอยู่ในพื้นที่ป่าของเทือกเขาสันกะลาคีรี ซึ่งตั้งอยู่บนคาบสมุทรขนาดใหญ่ คาบสมุทรมลายูหรือแหลมมลายู ชาวมลายูในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้เรียกเทือกเขาสันกาลาคีรีในภาษามลายูว่า "บูกิตบือชา" และในงานศึกษานี้พื้นที่ศึกษาเกือบทั้งหมดอยู่ในอุทยานแห่งชาติบางลางและเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าฮาลาบาลาและบางส่วนอยู่ในพื้นที่ชุมชนรอบป่า ซึ่งโอรังอัสลีมีความสัมพันธ์ในสภาพแวดล้อมตนเองอย่างเข้มข้นพวกเขาใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีพื้นฐานและเทคโนโลยีสมัยใหม่ในการยังชีพเพื่อความอยู่รอด สามารถพัฒนาความเชี่ยวชาญจากสังคมล่าสัตว์และเก็บหาของป่าเข้าสู่โลกทันสมัยหลากหลายมิติ จากสภาพแวดล้อมที่อาศัยที่อุดมสมบูรณ์แวดล้อมด้วยสรรพสัตว์ พรรณไม้ ภายหลังรัฐบาลไทยได้สร้างเขื่อนบางลางทำให้เกิดอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ ส่งผลต่อการลดลงของความอุดมสมบูรณ์ นอกจากนี้ยังมีเส้นทางถนนเข้าสู่ใจกลางป่า เส้นทางเรือที่เปิดให้คนเดินทางเข้าพื้นที่ แต่กระนั้นแม้ระบบนิเวศน์เปลี่ยนแปลงไปพวกเขาจำนวนหนึ่งก็สามารถปรับตัวกับการอาศัยในสภาพแวดล้อมระบบนิเวศทางน้ำ ค้นพบการหาที่อยู่อาศัยแบบใหม่ ร่อนเร่ตามเกาะแก่งต่าง ๆ และใช้เรือเคลื่อนที่เร็วเพื่อรับจ้างทำงานเป็นอาชีพ
 

  • ประเภท รายงานงานวิจัย 
  • สถานที่พิมพ์ ปัตตานี
  • สำนักพิมพ์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
  • สิทธิ์ ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน)
  • รูปแบบลิขสิทธิ์ Attribution-NonCommercial (CC BY-NC)

Additional Details

  • รหัส LC DS570.ง7 บ63 2562
  • ปีที่พิมพ์ 2562
  • จำนวนหน้า 141
  • สารบัญ

    บทที่ 1 ความเป็นมาและกรอบแนวคิดที่ใช้ในการวิจัย  น.1

    บทที่ 2 สภาพทางภูมิศาสตร์ของถิ่นที่อยู่ของโอรังอัสลี  น.9

    บทที่ 3 โอรังอัสลี (Orang Asli) ในวรรณกรรมทางวิชาการ  น.17

    บทที่ 4 โอรังอัสลีในประเทศไทย  น.29

    บทที่ 5 อัตลักษณ์และวิถีโอรังอัสลี  น.59

    บทที่ 6 บ้าน ศิลปะและสุนทรียศาสตร์ในวิถีชีวิต โอรังอัสลี  น.89

    บทที่ 7 ความสัมพันธ์ของโอรังอัสลีกับคนพื้นราบ  น.123

    บรรณานุกรม  น.135

  • ประวัติการสร้างและการเก็บรักษา ห้องสมุดศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร
  • สถาบัน / หน่วยงาน มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ 
  • ภาษาต้นฉบับ ไทย
  • สถานที่ ยะลา, นราธิวาส,

ระบบอ้างอิงอัตโนมัติฐานข้อมูลผลงานวิชาการ ศมส.

APA

บัณฑิต ไกรวิจิตร และคณะ. (2562). ชาวโอรังอัสลี ภาคใต้ตอนล่างของประเทศไทย. ปัตตานี: มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์. ค้นคืนเมื่อ 19 เมษายน 2568 , จาก ฐานข้อมูลงานวิจัย ศมส.: http://sac-research.sac.or.th/research-item-search.php?ob_id=234

MLA

บัณฑิต ไกรวิจิตร และคณะ. ชาวโอรังอัสลี ภาคใต้ตอนล่างของประเทศไทย. มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์,2562. ฐานข้อมูลงานวิจัย ศมส. [ออนไลน์]. ค้นคืนเมื่อ 19 เมษายน 2568  

HARVARD

บัณฑิต ไกรวิจิตร และคณะ, 2562. ชาวโอรังอัสลี ภาคใต้ตอนล่างของประเทศไทย. [Online]. ปัตตานีมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์. จาก ฐานข้อมูลงานวิจัย ศมส.: http://sac-research.sac.or.th/research-item-search.php?ob_id=234 [ค้นคืนเมื่อ 19 เมษายน 2568 ]

File Download

File Name Size Download
ปก 254.38 KB
สารบัญ 52.19 KB
บทที่ 1 ความเป็นมาและกรอบแนวคิดที่ใช้ในการวิจัย 1.68 MB
บทที่ 2 สภาพทางภูมิศาสตร์ของถิ่นที่อยู่ของโอรังอัสลี 895.88 KB
บทที่ 3 โอรังอัสลี (Orang Asli) ในวรรณกรรมทางวิชาการ 1.93 MB
บทที่ 4 โอรังอัสลีในประเทศไทย 3.41 MB
บทที่ 5 อัตลักษณ์และวิถีโอรังอัสลี 4.9 MB
บทที่ 6 บ้าน ศิลปะและสุนทรียศาสตร์ในวิถีชีวิต โอรังอัสลี 4.42 MB
บทที่ 7 ความสัมพันธ์ของโอรังอัสลีกับคนพื้นราบ 2.5 MB
บรรณานุกรม 604.31 KB
เอกสารฉบับเต็ม 20.57 MB