| | เข้าสู่ระบบ
ชุมชนบ้านห้วยหว้า ตำบลโนนฆ้อง อำเภอบ้านฝาง จังหวัดขอนแก่น เป็นพื้นที่ชุมชนชาติพันธุ์ลาวในอีสานอีกชุมชนหนึ่ง ซึ่งยังคงรักษาขนบธรรมเนียมประเพณีฮีตสิบสอง-คองสิบสี่ไว้อย่างเหนียวแน่น อีกทั้งยังคงปฏิบัติตามคติความเชื่อดั้งเดิมในการบูชาผีปู่ตา โดยการจัดแบ่งพื้นที่ป่าชุมชนทางด้านทิศทิศตะวันออกของหมู่บ้าน เป็นที่ตั้งของดอนปู่ตาโดยมีเจ้าปู่คำแสน ซึ่งเชื่อว่าเป็นผีปู่ตาหลักในการปกปักรักษาและคุ้มครองชาวบ้านห้วยหว้า แต่ด้วยระยะเวลาที่ล่วงเลย สถานที่แห่งนี้จึงถูกปล่อยร้างขาดการบำรุงรักษา เช่นเดียวกับศิลปวัฒนธรรมการแสดงแบบดั้งเดิมของกลุ่มชาติพันธุ์ลาวในอีสาน หมอลำกลอนสินไซที่ไม่ได้รับการเหลียวแลและอนุรักษ์ ซึ่งในอดีตนั้นบ้านห้วยหว้าเคยมีคณะหมอลำสินไซและหมอลำเพลินในหมู่บ้านถึง 5 คณะ ถึงแม้ปัจจุบันนี้ทุกคณะจะได้ยุบคณะไปแล้วก็ตาม แต่ปัจจุบันได้เกิดการรวมกลุ่มหมอลำสินไซภายในหมู่บ้านในนาม “กลุ่มอนุรักษ์มรดกภูมิปัญญาทาง วัฒนธรรมหมอลำสินไซ” โดยวรรณกรรมสินไซถือเป็นสุดยอดแห่งวรรณกรรมของคนลาวและคนลาวในอีสานสมัยก่อน ที่ได้รับการบอกเล่าสืบทอดต่อๆ กันมานับหลายร้อยปี ถือเป็นจิตวิญญาณของกลุ่มชาติพันธุ์ลาวในการบอกเล่าเรื่องราวธรรมมะทางพระพุทธศาสนาผ่านวรรณกรรม นับว่าเป็นภูมิปัญญาของบรรพบุรุษชาติพันธุ์ลาวที่ได้สะท้อนหลักธรรมคำสอนเอาไว้และส่งต่อให้แก่รุ่นลูกรุ่นหลานสืบมาจนถึงปัจจุบันนี้ จากสภาพการณ์ที่กล่าวจึงเล็งเห็นถึงความสำคัญของการอนุรักษ์และ ฟื้นฟูดอนปู่ตาเจ้าปู่คำแสนให้กลับมามีความอุดมสมบูรณ์และสามารถพัฒนาเป็นแหล่งทรัพยากรสำคัญ ของชาวบ้านห้วยหว้าและเป็นศูนย์รวมความศรัทธาแห่งความเชื่อดั้งเดิมของกลุ่มชาติพันธุ์ลาวในอีสาน ให้ยังคงดำรงอยู่ต่อไป
คำนำ น.(ก)
บทที่ 1 บทนำ น.1
1.1 ที่มาและความสำคัญ น.1
1.2 วัตถุประสงค์ น.4
1.3 ความสำคัญของการศึกษา น.4
1.4 ขอบเขตการศึกษา น.5
1.5 นิยามศัพท์เฉพาะ น.6
1.6 วิธีดำเนินการศึกษา น.7
1.7 ผลที่คาดว่าจะได้รับ น.8
บทที่ 2 ทบทวนวรรณกรรม น.9
2.1 แนวคิดความเชื่อดอนปู่ตากับชาติพันธุ์ลาว น.9
2.2 แนวคิดสิทธิชุมชน น.13
2.3 แนวคิดการจัดการทรัพยากร น.14
2.4 แนวคิดสิทธิชุมชนและการจัดการทรัพยากร น.15
2.5 วรรณกรรมสินไซ น.16
2.6 งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง น.16
บทที่ 3 บริบทพื้นที่ น.22
3.1 ประวัติความเป็นมาบ้านห้วยหว้า น.22
3.2 สภาพทางสังคมและเศรษฐกิจ น.24
3.3 ขนบธรรมเนียม ประเพณี และคติความเชื่อ น.28
บทที่ 4 ผลการศึกษา น.29
4.1 เวทีการประชุมเพื่อชี้แจงข้อมูลและแนวทางในการดำเนินโครงการ น.29
4.2 เวทีการค้นข้อมูลเพื่อรับฟังความคิดเห็นจากคนในชุมชน น.32
4.3 เวทีแสวงหาแนวทางในการจัดการ การฟื้นฟู และการอนุรักษ์ป่าชุมชนดอนปู่ตาเจ้าปู่คำแสน น.45
4.4 ปฏิบัติการในการฟื้นฟูป่าเจ้าปู่คำแสนสู่อุทยานการเรียนรู้สินไซตำบลโนนฆ้อง น.47
4.5 เวทีสรุปบทเรียนที่ได้จากการวิจัยและแสวงหาแนวทางในการบริหารจัดการป่าเจ้าปู่คำแสนสู่อุทยานการเรียนรู้สินไซ น.61
บทที่ 5 สรุปและอภิปรายผล น.59
5.1 ประวัติและความเชื่อท้องถิ่นของกลุ่มชาติพันธุ์ลาวที่มีต่อดอนปู่ตาเจ้าปู่คำแสนบ้านห้วยหว้า น.59
5.2 ประวัติและความเป็นมาของวรรณกรรมสินไซบ้านห้วยหว้า ตำบลโนนฆ้อง อำเภอบ้านฝาง จังหวัดขอนแก่น น.67
5.3 แนวทางในการบริหารจัดการ ฟื้นฟู และการอนุรักษ์ป่าชุมชนดอนปู่ตาเจ้าปู่คำแสนสู่อุทยานการเรียนรู้สินไซตำบลโนนฆ้อง น.72
5.4 ข้อเสนอแนะ
บรรณานุกรม น.72
ภาคผนวก น.75