คำอธิบาย / บทคัดย่อ

ชุมชนตรอกสลักหิน ชุมชนใกล้ศูนย์กลางทางการค้าของกรุงเทพมหานคร แม้จะมีขนาดเล็กแต่มีมนต์เสน่ห์และเรื่องราวที่น่าค้นหาซ่อนอยู่ในชุมชน ไม่ว่าจะเป็นประวัติศาสตร์ ศิลปะ วัฒนธรรม ความเชื่อ รวมถึงวิถีชีวิตของคนในชุมชนที่ยังคงรอให้ทุกคนเข้ามาค้นหา และเรียนรู้เรื่องราวต่าง ๆ จากในชุมชนแห่งนี้ โครงการ การพัฒนาเส้นทางการเรียนรู้ประวัติศาสตร์ชุมชนตรอกสลักหิน โดยมีวัตถุประสงค์ 3 ประการ คือ 1) เพื่อศึกษาและเรียบเรียงประวัติศาสตร์ชุมชนอย่างมีส่วนร่วมกับคนในท้องถิ่น 2) เพื่อปลูกฝังให้คนในท้องถิ่นเห็นคุณค่าของชุมชนผ่านการพัฒนาพื้นที่การเรียนรู้ประวัติศาสตร์ชุมชนร่วมกัน 3) เพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับชุมชนโดยพัฒนาเป็นพื้นที่การเรียนรู้ประวัติศาสตร์สำหรับบุคคลทั่วไป และมีวิธีการดำเนินงาน แบ่งออกเป็น 4 ระยะ คือ ระยะที่ 1 ศึกษาประวัติศาสตร์ ทั้งจากการศึกษาเอกสารที่เกี่ยวข้อง และการสอบถาม สัมภาษณ์จากสมาชิกในชุมชน ปราชญ์ชาวบ้านและนักวิชาการ ระยะที่ 2 ออกแบบเส้นทางการเรียนรู้ ร่วมกับคนในชุมชน ระยะที่ 3 เผยแพร่ประวัติศาสตร์ชุมชน ผ่านการจัดกิจกรรม “Trail (Tale) of ตรอกสลักหิน” และระยะที่ 4 ประเมินและสรุปผลโครงการ กลุ่มเป้าหมายของโครงการ คือ สมาชิกชุมชนตรอกสลักหินและบุคคลภายนอกชุมชน จากโครงการนี้ทำให้ผู้ใหญ่ในชุมชนที่มีส่วนร่วมในกระบวนการและกิจกรรมต่าง ๆ ที่จัดขึ้นสามารถรำลึกถึงอดีต บอกเล่าข้อมูลของชุมชนและถ่ายทอดออกมาผ่านประสบการณ์ที่ได้รับเพื่อส่งต่อไปยังเด็ก ๆ ในชุมชนที่เข้าร่วมการทำยุววิจัยเป็นผู้สัมภาษณ์ได้รับทราบ และเด็ก ๆ ยังสามารถบอกเล่าเรื่องราวเหล่านั้นให้แก่บุคคลภายนอกได้

 

  • ประเภท รายงาน 
  • สถานที่พิมพ์ กรุงเทพฯ
  • สำนักพิมพ์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
  • สิทธิ์ ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน)
  • รูปแบบลิขสิทธิ์ Attribution-NonCommercial (CC BY-NC)

Additional Details

  • ปีที่พิมพ์ 2562
  • จำนวนหน้า 56
  • สารบัญ
    คำนำ  น.(ก)
    กิตติกรรมประกาศ  น.(ข)
    บทสรุปคัดย่อการดำเนินงาน  น.(ค)
    สารบัญ  น.(ง)
    ความเป็นมาของโครงการ  น.1
    วัตถุประสงค์ของโครงการ  น.3
    กระบวนการทำงาน  น.3
    วิธีการดำเนินงาน  น.4
    กลุ่มเป้าหมาย  น.17
    ฐานการเรียนรู้ในเส้นทางการเรียนรู้ทั้ง 9 ฐาน น.18
    ผลลัพธ์ที่ได้  น.27
    สรุปผลการประเมินความพึงพอใจการเข้าร่วมโครงการ  น.27
    การถอดบทเรียนร่วมกับมูลนิธิเพื่อการพัฒนาเด็ก  น.31
    อุปสรรคในการทำงาน  น.32
    ข้อเสนอแนะโครงการ  น.32
    ภาคผนวก  น.(จ)
    ก. เอกสารแบบประเมิน และเอกสารการเก็บข้อมูลต่าง ๆ
    ข. ฐานการเรียนรู้ในเส้นทางการเรียนรู้ประวัติศาสตร์ชุมชนตรอกสลักหิน
    ค. ภาพกิจกรรมและการลงพื้นที่
     
  • ประวัติการสร้างและการเก็บรักษา ปัจจุบันรายงานฉบับนี้เก็บรักษาอยู่ที่ กลุ่มงานสื่อสารความรู้และเครือข่ายสัมพันธ์
  • สถาบัน / หน่วยงาน มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ 
  • ภาษาต้นฉบับ ไทย
  • สถานที่ กรุงเทพมหานคร,

ระบบอ้างอิงอัตโนมัติฐานข้อมูลผลงานวิชาการ ศมส.

APA

นัทธมน จำปาเฟื่อง และคณะ. (2562). การพัฒนาเส้นทางการเรียนรู้ประวัติศาสตร์ชุมชนตรอกสลักหิน. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์. ค้นคืนเมื่อ 9 มกราคม 2568 , จาก ฐานข้อมูลงานวิจัย ศมส.: http://sac-research.sac.or.th/research-item-search.php?ob_id=223

MLA

นัทธมน จำปาเฟื่อง และคณะ. การพัฒนาเส้นทางการเรียนรู้ประวัติศาสตร์ชุมชนตรอกสลักหิน. มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์,2562. ฐานข้อมูลงานวิจัย ศมส. [ออนไลน์]. ค้นคืนเมื่อ 9 มกราคม 2568  

HARVARD

นัทธมน จำปาเฟื่อง และคณะ, 2562. การพัฒนาเส้นทางการเรียนรู้ประวัติศาสตร์ชุมชนตรอกสลักหิน. [Online]. กรุงเทพฯมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์. จาก ฐานข้อมูลงานวิจัย ศมส.: http://sac-research.sac.or.th/research-item-search.php?ob_id=223 [ค้นคืนเมื่อ 9 มกราคม 2568 ]

File Download

File Name Size Download
ปก 127.88 KB
คำนำ, กิตติกรรมประกาศ, บทคัดย่อ, สารบัญ 390.91 KB
ความเป็นมาของโครงการ 2.41 MB
ฐานการเรียนรู้ในเส้นทางการเรียนรู้ทั้ง 9 ฐาน 1.11 MB
ผลลัพธ์ที่ได้, สรุปผลการประเมิน 956.84 KB
ภาคผนวก 1.72 MB
เอกสารฉบับเต็ม 6.66 MB