| | เข้าสู่ระบบ
ความเจริญและความเป็นเมืองหลวงของประเทศไทยอย่างกรุงเทพมหานคร ทำให้ประชากรจากทั่วภูมิภาคทุกสารทิศ อพยพเข้ามาทำงานเนื่องจากความเป็นศูนย์กลางอย่างไม่ขาดสาย ทำให้กรุงเทพฯ มีปัญหาเรื่องความแออัดของประชากร และการจัดสรรที่ดินสำหรับใช้ประโยชน์ไม่เพียงพอ พื้นที่ความเป็นเมืองจึงต้องขยายออกไปแถบชานเมืองแทน อาทิ แถบภาษีเจริญ บางขุนเทียน ราษฎร์บูรณะ เป็นต้น ทำให้พื้นที่การเกษตรอันเป็นพื้นที่ที่มีอยู่เดิมมาของชานเมืองกรุงเทพฯ นั้นถูกรุกล้ำด้วยโครงการบ้านจัดสรร การตัดเส้นทางถนนผ่าน โรงงานต่าง ๆ ประกอบกับค่านิยมวิถีชีวิตยุคใหม่ที่เห็นอาชีพเกษตรกรมีรายได้น้อย ทำให้เกิดภาวะการลดลงของพื้นที่ที่ทำสวน เพาะปลูกเพื่อการเกษตรลดลงเป็นจำนวนมาก จึงต้องมีการศึกษาถึงการปรับตัวให้การดำรงของพื้นที่สวนเข้ากับบริบทความเปลี่ยนแปลงในปัจจุบัน ของพื้นที่สวนแถบบริเวณฝั่งธนบุรีหรือแถบชานเมืองกรุงเทพฯ
บทที่ 1 บทนำ น.1
บทที่ 2 แนวคิด ทฤษฎี และงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง น.6
บทที่ 3 ระเบียบวิธีการวิจัย น.26
บทที่ 4 การดำรงอยู่ของเกษตรกรรมในเขตภาษีเจริญ กรุงเทพมหานคร น.30
บทที่ 5 การดำรงอยู่ของเกษตรกรรมในเขตบางแค กรุงเทพมหานคร น.90
บทที่ 6 การดำรงอยู่ของเกษตรกรรมในเขตตลิ่งชัน กรุงเทพมหานคร น.129
บทที่ 7 การดำรงอยู่ของเกษตรกรรมในเขตทวีวัฒนา กรุงเทพมหานคร น.175
บทที่ 8 สวนชานเมืองสู่สวนกลางเมือง: การดำรงอยู่ของเกษตรกรรมในพื้นที่ธนบุรี น.217
บรรณานุกรม น.231