| | เข้าสู่ระบบ
งานวิจัยชิ้นนี้ มีจุดประสงค์ในการเก็บข้อมูลจากพื้นที่ด้วยวิธีสังเกตอย่างมีส่วนร่วมและการสัมภาษณ์ เพื่อสำรวจรวบรวมรายชื่อเอกสารตัวเขียนของไทพ่าเก ซึ่งจากการวิจัยพบว่า คนไทพ่าเกมีอัตลักษณะทางวัฒนธรรมที่มีลักษณะดั้งเดิมเป็นมรดกติดตัวคนไทมาด้วยเมื่อย้ายถิ่นฐานไปยังลุ่มน้ำพรหมบุตรในรัฐอัสสัมมี 4 ประการ คือ 1.) อัตลักษณ์ด้านประวัติศาสตร์ 2.) อัตลักษณ์ด้านวัตนธรรม ประเพณี และวิถีชีวิต 3.) อัตลักษณ์ด้านความเชื่อของคนไทพ่าเก 4.) อัตลักษณ์ด้านภาษา โดยอัตลักษณ์ด้านภาษามีบทบาทอย่างมากในการดำรงวัฒนธรรมของไทพ่า ก่อให้เกิดเอกสารตัวเขียนจำนวนมาก ดังนั้นประเพณีเกี่ยวกับเอกสารตัวเขียน ที่เป็นปัจจัยในการอนุรักษ์เอกสารตัวเขียนของไทพ่าเก คือ ประเพณีลูลิก และประเพณีแต้มลิก ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญให้เกิดการผลิตซ้ำเอกสารตัวเขียนของไทพ่าเก โดยมีการปรับใช้เทคโนโลยี เช่น การถ่ายเอกสาร และคอมพิวเตอร์ มารับใช้คติความเชื่อ ทำให้สะดวกมากขึ้น
คำนำ
บทคัดย่อ
บทที่ 1 บทนำ น.1
บทที่ 2 อัตลักษณ์วัฒนธรรมของคนไทพ่าเก น.16
บทที่ 3 อัตลักษณ์ด้านภาษาและอักษณของไทพ่าเก น.76
บทที่ 4 เอกสารตัวเขียนของวัดน้ำพ่าเก น.135
บทที่ 5 สรุป น.194
บรรณานุกรม น.196