| | เข้าสู่ระบบ
รัฐอัสสัม เป็นพื้นที่ที่มีความหลากหลายทางชาติพันธุ์ พบกลุ่มชาติพันธุ์ที่พูดภาษาตระกูลไทอยู่บริเวณดินแดนปลายสุดทางตะวันตก ที่เกิดจากการอพยพเคลื่อนย้ายของกลุ่มคนไทจนก่อร่างสร้างเป็นอาณาจักรไทอาหม อันมีอัตลักษณ์ทางภาษา วัฒนธรรม ประเพณี ความเชื่อ วิถีชีวิตในรูปแบบของตนเอง แต่เมื่อรัฐอัสสัมมีบริบทความเปลี่ยนแปลงทางสังคม การเมือง และเศรษฐกิจที่เปลี่ยนแปลง ทำให้อัตลักษณ์ของชาวไทอาหมเปลี่ยนแปลงไป จนบางอย่างได้ถูกลบเลือนสูญหายไปจากความทรงจำและวิถีชีวิตของคนไทอาหม แต่เมื่อสำนึกทางประวัติศาสตร์ถูกรื้อฟื้น ประกอบกับความเคลื่อนไหวทางการเมืองที่ต้องการแยกรัฐอัสสัมเป็นรัฐอิสระ ทำให้ประเพณี พิธีกรรมต่าง ๆ ได้ถูกรื้อฟื้นอีกครั้งเพื่อสร้างสำนึกทางประวัติศาสตร์ร่วมกันของรัฐอัสสัม โดยเฉพาะประเพณี “เม-ด้ำ-เม-ผี” ถือได้ว่าเป็นประเพณีที่สำคัญและยิ่งใหญ่ที่สุดอย่างหนึ่งของรัฐอัสสัม
บทที่ 1 บทนำ น.1
บทที่ 2 กรอบแนวคิดและวรรณกรรมที่เกี่ยวข้อง น.9
บทที่ 3 ระบบความเชื่อและพิธีกรรมของไทอาหม น.23
บทที่ 4 พิธีกรรม "เม-ด้ำ-เม-ผี" น.57
บทที่ 5 พลวัตของพิธีกรรม "เม-ด้ำ-เม-ผี" ของไทอาหมภายใต้บริบททางสังคมการเมืองของรัฐอัสสัม น.117
รายการอ้างอิง น.128