| | เข้าสู่ระบบ
งานวิจัยนี้เป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพที่เน้นการศึกษาชุมชนอย่างรอบด้าน โดยใช้แนวคิดโครงสร้างทางสังคมและวัฒนธรรมเป็นกรอบของการศึกษาวิจัย ข้อมูลพื้นฐานของชุมชนเกือบทั้งหมดได้มาจากการสอบถามอย่างไม่เป็นทางการ ส่วนข้อมูลจำเพาะบางอย่างได้จากผู้ให้ข้อมูลหลักทั้งผู้นำชุมชนที่เป็นทางการและผู้ชำนาญการในแต่ละประเด็นปัญหา การนำเสนอเรื่องราวจากภาพกว้างไปสู่ภาพเฉพาะช่วยให้เห็นกำเนิด การเติบโตและพัฒนาการของท้องถิ่น ชุมชนที่ศึกษาส่วนใหญ่มีอายุเฉลี่ย 100 กว่าปี เป็นชุมชนที่อยู่ได้ด้วยตัวเองในระยะแรก แต่ภายหลังสงครามโลกครั้งที่สอง การที่รัฐได้เร่งพัฒนาประเทศเพื่อให้มีความก้าวหน้าทัดเทียมประเทศทั้งหลายได้ส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในแบบแผนการดำเนินชีวิตของผู้คนท้องถิ่นอย่างกว้างขวาง การเปลี่ยนแปลงที่เกิดจากปัจจัยภายนอกผลักดันให้สังคมชนบทต้องพึ่งพาสังคมเมืองยิ่งขึ้น ขณะเดียวกันเอกลักษณ์เฉพาะถิ่นก็เริ่มถดถอยไปพร้อมกับการเสื่อมโทรมของทรัพยากรที่ถูกนำมาใช้เป็นต้นทุนเพื่อการผลิต การดิ้นรนเพื่อการปรับตัวต่อสภาพแวดล้อมใหญ่ๆ คือปัญหาที่ชาวนาชาวไร่กำลังเผชิญ
ตอนที่ 1 ภาคเหนือ น.1
บทที่ 1 ชุมชนบ้านหาดบ้าย จังหวัดเชียงราย น.5
บทที่ 2 ชุมชนบ้านท่าฟ้าใต้ จังหวัดพะเยา น.22
บทที่ 3 ชุมชนบ้านดู่ใต้ จังหวัดน่าน น.44
บทที่ 4 ชุมชนบ้านท้องฝาย จังหวัดเชียงใหม่ น.64
บทที่ 5 ชุมชนบ้านศรีเมืองยู้ จังหวัดลำพูน น.82
บทที่ 6 ชุมชนบ้านทุ่งโฮ้ง จังหวัดแพร่ น.101
บทที่ 7 ชุมชนบ้านชาติตระการ จังหวัดพิษณุโลก น.116
บทที่ 8 ชุมชนบ้านหาดเสี้ยว จังหวัดสุโขทัย น.134
บทที่ 9 ชุมชนบ้านทุ่งหลวง จังหวัดสุโขทัย น.163
ตอนที่ 2 ภาคกลาง น.192
บทที่ 10 ชุมชนบ้านบางแก้ว จังหวัดนครสวรรค์ น.195
บทที่ 11 ชุมชนบ้านทัพคล้าย จังหวัดอุทัยธานี น.232
บทที่ 12 ชุมชนบ้านโคก จังหวัดสุพรรณบุรี น.256
บทที่ 13 ชุมชนบ้านยาง จังหวัดสุพรรณบุรี น.289
บทที่ 14 ชุมชนบ้านโรงหวด จังหวัดนครปฐม น.321
บทที่ 15 ชุมชนบ้านปากทะเล จังหวัดเพชรบุรี น.345
ตอนที่ 3 ภาคอีสาน น.379
บทที่ 16 ชุมชนบ้านทุ่งนาดาว จังหวัดหนองคาย น.382
บทที่ 17 ชุมชนบ้านเรณูนคร จังหวัดนครพนม น.411
บทที่ 18 ชุมชนบ้านโพธิ์ไพศาล จังหวัดสกลนคร น.439
บทที่ 19 ชุมชนบ้านตะโก จังหวัดบุรีรัมย์ น.470
บทที่ 20 ชุมชนบ้านหนองเชียงชุย จังหวัดขอนแก่น น.499
สรุปผลการศึกษา น.529
เอกสารอ้างอิง น.532