| | เข้าสู่ระบบ
งานศึกษาชิ้นนี้ต้องการศึกษา วัฒนธรรมและวิถีชีวิตของชุมชนบนสายน้ำแม่ปิงและลำน้ำสาขา อีกทั้งเพื่อใช้ชุดความรู้ที่ได้นำมาสร้างกระบวนการเรียนรู้ของชุมชน 3 หมู่บ้าน และนำไปใช้ในการวางแผนพัฒนาแหล่งน้ำ พัฒนาพื้นที่การเกษตร การฟื้นฟูระบบนิเวศน์พื้นที่ป่า และพัฒนาเนื้อหาสู่หลักสูตรท้องถิ่น ซึ่งจากการศึกษาพบว่า การจัดการน้ำระบบเหมืองฝายโดยชุมชนนั้นมีการเปลี่ยนแปลงสภาพโครงสร้างตัวฝายจากเดิมที่เป็นฝายหิน ฝายไม้ ปรับเปลี่ยนมาเป็น ฝายคอนกรีต รวมทั้งลำเหมืองดินมาเป็นลำเหมืองคอนกรีตเพื่อกระจายน้ำสู่พื้นที่ทางการเกษตรของชุมชน ส่งผลทำให้พิธีกรรมอย่างเลี้ยงผีฝายนั้น ค่อย ๆ ลดความสำคัญลงไป อีกทั้งจากปกติชาวบ้านจะปลูกพืชตามฤดูกาล ก็หันมาปลูกพืชเศรษฐกิจแทนที่ ส่งผลทำให้เกิดการแย่งชิงน้ำ คุณภาพน้ำเสื่อมโทรม ฉะนั้นจึงได้จัดทำโครงการนี้ขึ้นมา เพื่อแก้ไขปัญหาในข้างต้น อีกทั้งจะเป็นการสร้างความเข็มแข็งให้กับชุมชนให้เกิดเครือข่ายในการจัดการทรัพยากรร่วมกัน
คำนำ น.2
กิตติกรรมประกาศ น.4
บทสรุปคัดย่อการดำเนินงาน น.5
ส่วนที่ 1 ความเป็นมาโครงการ น.13
ส่วนที่ 2 กระบวนการ เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา น.18
ส่วนที่ 3 ผลการดำเนินงาน ตามแผนงานโครงการศึกษาวัฒนธรรม วิถีชีวิตของผู้คนบนสายน้ำแม่ปิงฯ น.29
ส่วนที่ 4 การจัดการน้ำเหมืองฝาย ความสัมพันธ์ ระบบการผลิตชุมชนสายน้ำ น.33
ส่วนที่ 5 สรุป ปัญหาอุปสรรค ข้อเสนอแนะ น.65