การเมืองเรื่องร่างกายว่าด้วย “นโยบายผ้าอนามัย”

จุฑามณี สารเสวก | 27 ตุลาคม 2564

 

คำอธิบาย / บทคัดย่อ

เมื่อไม่นานมานี้มีกระแสข่าวที่กลายเป็นประเด็นถกเถียงกันอย่างเป็นวงกว้าง ภายหลังจากประกาศราชกิจจานุเบกษาฉบับใหม่ ระบุให้ “ผ้าอนามัยชนิดสอด” เป็นเครื่องสำอางหรือจัดเป็นสินค้าฟุ่มเฟือย ชวนอ่านการเมืองเรื่องร่างกายว่าด้วย “นโยบายผ้าอนามัย” ทำความรู้จักผ้าอนามัยว่ามีที่มาที่ไปอย่างไร เกี่ยวข้องอย่างไรกับการเมืองเรื่องร่างกายและความเป็นเพศ จากกรณีศึกษาทั่วโลก รวมถึงการเคลื่อนไหวการรณรงค์ของกลุ่มผู้หญิงจากหลายประเทศ ที่ลุกขึ้นมาเรียกร้องให้รัฐแก้ไขปัญหาที่เกี่ยวข้องกับวัฒนธรรมทางเพศในสังคมที่กดทับผู้หญิงอย่างเป็นระบบ จากการเพิกเฉยของรัฐในสังคมปิตาธิปไตยและการผลักภาระค่าใช้จ่ายให้ผ้าอนามัยถูกจัดเป็นหนึ่งในสินค้าที่เรียกว่า Pink tax (ภาษีสีชมพู) หรือเป็นภาษีที่เก็บจากสินค้าที่เกี่ยวข้องกับการดูแลความสวยความงามซึ่งถูกมองว่าเป็นความฟุ่มเฟือย และมักเป็นสินค้าสำหรับผู้หญิงมากกว่าผู้ชาย ทำให้ปัญหาความเหลื่อมล้ำทางด้านเพศมีความซับซ้อนและทวีรุนแรงมากขึ้น

ระบบอ้างอิงอัตโนมัติฐานข้อมูลผลงานวิชาการ ศมส.

APA

จุฑามณี สารเสวก. (2564). การเมืองเรื่องร่างกายว่าด้วย “นโยบายผ้าอนามัย”. กรุงเทพฯ: ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร. ค้นคืนเมื่อ 9 มกราคม 2568, จาก ฐานข้อมูลงานวิจัย ศมส.: http://sac-research.sac.or.th/article-detail.php?articleID=270

MLA

จุฑามณี สารเสวก. "การเมืองเรื่องร่างกายว่าด้วย “นโยบายผ้าอนามัย”". ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร,2564, ฐานข้อมูลงานวิจัย ศมส. [ออนไลน์]. ค้นคืนเมื่อ 9 มกราคม 2568 <http://sac-research.sac.or.th/article-detail.php?articleID=270>

HARVARD

จุฑามณี สารเสวก, 2564. "การเมืองเรื่องร่างกายว่าด้วย “นโยบายผ้าอนามัย”", [ออนไลน์]. กรุงเทพฯ: ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร. จาก ฐานข้อมูลงานวิจัย ศมส.: http://sac-research.sac.or.th/article-detail.php?articleID=270 [ค้นคืนเมื่อ 9 มกราคม 2568]

File Download

File Download Size Download
ดาวน์โหลดบทความ 481.68 KB