มานุษยวิทยาสาธารณะ (Public Anthropology)

นฤพนธ์ ด้วงวิเศษ | 27 ตุลาคม 2564

 

คำอธิบาย / บทคัดย่อ

นักมานุษยวิทยาพยายามศึกษาเงื่อนไขของปัญหาที่ซับซ้อนในโครงสร้างอำนาจตั้งแต่ระดับชุมชนขนาดเล็กไปจนถึงสังคมโลกที่มีการเชื่อมข้ามหากัน นั่นคือจุดเริ่มต้นของการนำความรู้ออกไปสู่สาธารณะ ทิศทางการศึกษามานุษยวิทยาในอนาคตจำเป็นต้องมุ่งมั่นและพยายามเข้าไปเกี่ยวข้องเชิงรุกกับสังคม โดยเฉพาะเมื่อสังคมมีความขัดแย้ง ความรุนแรง ที่ซับซ้อนและขยายตัวมากขึ้นในปัจจุบัน บทบาทการทำงานเพื่อสังคมของนักมานุษยวิทยาจึงอาจรวมถึงการเข้าไปมีส่วนแก้ไขและขับเคลื่อนการเปลี่ยนแปลงที่มีเป้าหมายที่ชัดเจน ความเป็นสาธารณะของวิชามานุษยวิทยามีวิธีปฏิบัติที่หลากหลาย เช่น การเข้าไปวิพากษ์วิจารณ์นโยบายของรัฐ ปัญหาสงคราม การละเมิดสิทธิมนุษยชน การเหยียดเชื้อชาติ ศาสนา และเพศสภาพของมนุษย์ อย่างไรก็ตาม นักมานุษยวิทยาที่เข้าไปขับเคลื่อนสังคมในประเด็นต่างๆ ย่อมจะพบกับอุปสรรคและสิ่งที่มาขัดขวางหลากหลายรูปแบบ โดยเฉพาะการพูดความจริงที่ท้าทายต่อระบอบอำนาจและกฎเกณฑ์ที่ครอบงำสังคม ผู้อำนาจอาจไม่ยินดีที่จะให้กฎระเบียบและบรรทัดฐานบางอย่างถูกทำลาย แม้ว่ามันจะเป็นต้นเหตุของปัญหาความไม่เป็นธรรมทางสังคม สถานการณ์เหล่านี้สามารถเกิดขึ้นได้เมื่อเข้าไปท้าทายผู้มีอำนาจ

ระบบอ้างอิงอัตโนมัติฐานข้อมูลผลงานวิชาการ ศมส.

APA

นฤพนธ์ ด้วงวิเศษ. (2564). มานุษยวิทยาสาธารณะ (Public Anthropology). กรุงเทพฯ: ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร. ค้นคืนเมื่อ 20 พฤษภาคม 2567, จาก ฐานข้อมูลงานวิจัย ศมส.: http://sac-research.sac.or.th/article-detail.php?articleID=268

MLA

นฤพนธ์ ด้วงวิเศษ. "มานุษยวิทยาสาธารณะ (Public Anthropology)". ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร,2564, ฐานข้อมูลงานวิจัย ศมส. [ออนไลน์]. ค้นคืนเมื่อ 20 พฤษภาคม 2567 <http://sac-research.sac.or.th/article-detail.php?articleID=268>

HARVARD

นฤพนธ์ ด้วงวิเศษ, 2564. "มานุษยวิทยาสาธารณะ (Public Anthropology)", [ออนไลน์]. กรุงเทพฯ: ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร. จาก ฐานข้อมูลงานวิจัย ศมส.: http://sac-research.sac.or.th/article-detail.php?articleID=268 [ค้นคืนเมื่อ 20 พฤษภาคม 2567]

File Download

File Download Size Download
ดาวน์โหลดบทความ 377.91 KB