มานุษยวิทยาวัตถุ (Materiality and the Anthropology of Material Culture)

นฤพนธ์ ด้วงวิเศษ | 27 ตุลาคม 2564

 

คำอธิบาย / บทคัดย่อ

การศึกษาของนักมานุษยวิทยาเกี่ยวกับการเปลี่ยนความหมายและสถานะของวัตถุสิ่งของ เช่น การเป็นของกำนัลและการเป็นสินค้า วัตถุบางชนิดถูกใช้เป็นสิ่งของที่มีค่าเพื่อการแลกเปลี่ยนและสร้างความสัมพันธ์ระหว่างกลุ่มคน แต่เมื่อวัตถุชนิดเดียวกันถูกโยกย้ายจากบริบทเดิมไปสู่สภาพแวดล้อมและเงื่อนไขทางเศรษฐกิจ ของกำนัลที่มีคุณค่าทางจิตใจก็อาจถูกทำให้เป็นสินค้าที่มีมูลค่าทางเศรษฐกิจ ข้อสังเกตนี้เป็นจุดเริ่มต้นสำคัญที่ทำให้การศึกษาการดำรงอยู่ในสังคมของวัตถุเปลี่ยนจากการมองแบบความคงที่ไปสู่การมองเงื่อนไขและวงจรชีวิตของวัตถุที่หมุนเปลี่ยนสถานะ คุณค่า และความหมายไปตามกิจกรรมทางสังคม แนวคิดเดิมของ “วัฒนธรรมทางวัตถุ” (material culture) คือประสบการณ์ทางสังคมที่มนุษย์นำวัตถุสิ่งของมาใช้ประโยชน์ในการดำรงชีวิต แต่วัตถุเหล่านั้นคือที่สะสมความทรงจำและเรื่องราวต่างๆ เกี่ยวกับมนุษย์ วัตถุจึงมิใช่เพียง “สิ่งของ” แต่มันยังเป็นกระบวนการทางสังคมที่ส่งต่อความหมาย จินตนาการ และคุณค่าผ่านจากคนรุ่นหนึ่งไปยังคนอีกรุ่นหนึ่ง กระบวนการดังกล่าวสอนให้มนุษย์เข้าใจตัวเองและสังคมที่ดำรงอยู่

ระบบอ้างอิงอัตโนมัติฐานข้อมูลผลงานวิชาการ ศมส.

APA

นฤพนธ์ ด้วงวิเศษ. (2564). มานุษยวิทยาวัตถุ (Materiality and the Anthropology of Material Culture). กรุงเทพฯ: ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร. ค้นคืนเมื่อ 9 มกราคม 2568, จาก ฐานข้อมูลงานวิจัย ศมส.: http://sac-research.sac.or.th/article-detail.php?articleID=265

MLA

นฤพนธ์ ด้วงวิเศษ. "มานุษยวิทยาวัตถุ (Materiality and the Anthropology of Material Culture)". ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร,2564, ฐานข้อมูลงานวิจัย ศมส. [ออนไลน์]. ค้นคืนเมื่อ 9 มกราคม 2568 <http://sac-research.sac.or.th/article-detail.php?articleID=265>

HARVARD

นฤพนธ์ ด้วงวิเศษ, 2564. "มานุษยวิทยาวัตถุ (Materiality and the Anthropology of Material Culture)", [ออนไลน์]. กรุงเทพฯ: ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร. จาก ฐานข้อมูลงานวิจัย ศมส.: http://sac-research.sac.or.th/article-detail.php?articleID=265 [ค้นคืนเมื่อ 9 มกราคม 2568]

File Download

File Download Size Download
ดาวน์โหลดบทความ 615.46 KB