มานุษยวิทยาแห่งผัสสะ (Sensory Anthropology)

นฤพนธ์ ด้วงวิเศษ | 27 ตุลาคม 2564

 

คำอธิบาย / บทคัดย่อ

จุดมุ่งหมายในการศึกษาผัสสะแบบมานุษยวิทยา คือการทำความเข้าใจความหมายที่มนุษย์ใช้ผัสสะรับรู้ในสิ่งต่างๆ โดยไม่ใช่การสังเกตหรือจ้องมองดูพฤติกรรมเหล่านั้น แต่เป็นการเข้าไปมีส่วนรับรู้ประสบการณ์แห่งอารมณ์พร้อมกับกลุ่มคนที่กำลังถูกศึกษา เพื่อทำความเข้าใจว่าในสถานการณ์ที่คนเหล่านั้นกำลังมีความรู้สึก พวกเขาสัมผัสกับคุณค่าและความหมายในสิ่งต่างๆ อย่างไร มานุษยวิทยาแห่งผัสสะมิได้มอง “ร่างกาย” เป็นเพียงอวัยวะ แต่มองในฐานะเป็น “ร่างแห่งความรู้สึก” (sentient body) ที่มีชีวิตจิตใจ ในแวดวงมานุษยวิทยาซึ่งใช้วิธีการศึกษาแบบการสังเกตอย่างมีส่วนร่วมและเข้าไปคลุกคลีกับกลุ่มคนที่ถูกศึกษาเป็นเวลานาน นำไปสู่ความสนใจเรื่องความรู้สึกที่นักมานุษยวิทยามีต่อสิ่งต่างๆ ที่เกิดขึ้นในพื้นที่ศึกษา สิ่งนี้นำไปสู่ระเบียบวิธีวิจัยที่เรียกว่า วิธีวิทยาแห่งผัสสะ (sensory methodology) ซึ่งใช้ความรู้สึกเป็นเครื่องมือเพื่อแสวงหาความรู้ จุดเริ่มต้นคือผู้ศึกษาจะต้องไม่เอาประสบการณ์ของตัวเองไปประเมินผัสสะของคนในวัฒนธรรมอื่น จากนั้นต้องเปิดใจกว้างที่จะเรียนรู้วิธีการแสดงความรู้สึกของคนต่างวัฒนธรรม โดยพยายามเข้าไปอยู่ในสถานการณ์จริงที่คนเหล่านั้นกำลังใช้ผัสสะและรับรู้สิ่งต่างๆ วิธีนี้เรียกว่า “การใช้ความรู้สึกอย่างมีส่วนร่วม”

ระบบอ้างอิงอัตโนมัติฐานข้อมูลผลงานวิชาการ ศมส.

APA

นฤพนธ์ ด้วงวิเศษ. (2564). มานุษยวิทยาแห่งผัสสะ (Sensory Anthropology). กรุงเทพฯ: ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร. ค้นคืนเมื่อ 24 มกราคม 2568, จาก ฐานข้อมูลงานวิจัย ศมส.: http://sac-research.sac.or.th/article-detail.php?articleID=261

MLA

นฤพนธ์ ด้วงวิเศษ. "มานุษยวิทยาแห่งผัสสะ (Sensory Anthropology)". ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร,2564, ฐานข้อมูลงานวิจัย ศมส. [ออนไลน์]. ค้นคืนเมื่อ 24 มกราคม 2568 <http://sac-research.sac.or.th/article-detail.php?articleID=261>

HARVARD

นฤพนธ์ ด้วงวิเศษ, 2564. "มานุษยวิทยาแห่งผัสสะ (Sensory Anthropology)", [ออนไลน์]. กรุงเทพฯ: ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร. จาก ฐานข้อมูลงานวิจัย ศมส.: http://sac-research.sac.or.th/article-detail.php?articleID=261 [ค้นคืนเมื่อ 24 มกราคม 2568]

File Download

File Download Size Download
ดาวน์โหลดบทความ 346.59 KB