มานุษยวิทยาพ้นมนุษย์ (Posthuman Anthropology)

นฤพนธ์ ด้วงวิเศษ | 19 ตุลาคม 2564

 

คำอธิบาย / บทคัดย่อ

จุดท้าทายเริ่มแรกของการก้าวข้ามความเป็นมนุษย์ คือการรื้อทำลายมายาคติความเป็นมนุษย์ที่อยู่เหนือสรรพสิ่ง การศึกษาทางมานุษยวิทยาจำเป็นต้องปรับเปลี่ยนความเข้าใจเกี่ยวกับมนุษย์ โดยมองไปที่สิ่งที่ไม่ใช่มนุษย์ที่มีส่วนทำให้โลกเปลี่ยนแปลงไป กระบวนทัศน์การพ้นมนุษย์จึงเป็นการล้มล้างและท้าทายความคิดตะวันตกที่เอามนุษย์เป็นศูนย์กลาง (anthropocentrism) ความเข้าใจและข้อถกเถียงเชิงกระบวนทัศน์ของการพ้นมนุษย์ มิใช่การล้มล้างหรือต่อต้านความคิดจารีตนิยมที่ยึดมั่นในตัวตนและปัญญาของมนุษย์ แต่เป็นการขยายความเข้าใจต่อ “ความเป็นมนุษย์” ที่ไม่เคยมั่นคงและมีเอกภาพ ดังนั้น สิ่งต่างๆ ที่ดำรงอยู่ในโลก มิใช่เป็นสิ่งที่อยู่นอกพรมแดนมนุษย์ หรือเป็นส่วนที่เข้ามาเติมเต็มให้มนุษย์มีชีวิตที่สะดวกสบายและเป็นสุข สิ่งต่างๆ มิใช่เป็นวัตถุที่มนุษย์นำมาใช้ประโยชน์ แต่เป็นสิ่งที่ทำให้มนุษย์เห็นคุณค่าของการพึ่งพาอาศัยกัน การพ้นมนุษย์มิใช่การศึกษาที่ละทิ้งความเป็นศูนย์กลางของมนุษย์ หากแต่ยังเป็นการตั้งคำถามต่อกระบวนทัศน์ที่เคยให้มนุษย์สำคัญเหนือกว่าสิ่งอื่น

ระบบอ้างอิงอัตโนมัติฐานข้อมูลผลงานวิชาการ ศมส.

APA

นฤพนธ์ ด้วงวิเศษ. (2564). มานุษยวิทยาพ้นมนุษย์ (Posthuman Anthropology). กรุงเทพฯ: ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร. ค้นคืนเมื่อ 20 พฤษภาคม 2567, จาก ฐานข้อมูลงานวิจัย ศมส.: http://sac-research.sac.or.th/article-detail.php?articleID=257

MLA

นฤพนธ์ ด้วงวิเศษ. "มานุษยวิทยาพ้นมนุษย์ (Posthuman Anthropology)". ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร,2564, ฐานข้อมูลงานวิจัย ศมส. [ออนไลน์]. ค้นคืนเมื่อ 20 พฤษภาคม 2567 <http://sac-research.sac.or.th/article-detail.php?articleID=257>

HARVARD

นฤพนธ์ ด้วงวิเศษ, 2564. "มานุษยวิทยาพ้นมนุษย์ (Posthuman Anthropology)", [ออนไลน์]. กรุงเทพฯ: ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร. จาก ฐานข้อมูลงานวิจัย ศมส.: http://sac-research.sac.or.th/article-detail.php?articleID=257 [ค้นคืนเมื่อ 20 พฤษภาคม 2567]

File Download

File Download Size Download
ดาวน์โหลดบทความ 435.68 KB