ซอมบี้ศึกษาในมิติสังคมวัฒนธรรม (Zombie Studies in Sociocultural Contexts)

นฤพนธ์ ด้วงวิเศษ | 19 ตุลาคม 2564

 

คำอธิบาย / บทคัดย่อ

การสถาปนาคำว่า Zombie เริ่มต้นจากข้อสังเกตของนักวิชาการบางคนต่อความเชื่อลัทธิ voodoo ในเฮติ ซึ่งเชื่อในเวทย์มนต์คาถา ผี วิญญาณ และคนตาย พร้อมทั้งมีการเปรียบเทียบแรงงานทาสเฮติในฝรั่งเศสเป็นซอมบี้ นักมานุษยวิทยาชาวอเมริกันวิเคราะห์ว่าซอมบี้ในวัฒนธรรมเฮติ คือกระจกสะท้อนชีวิตที่ยากลำบากของทาสผิวดำที่ต้องทำงานหนักเพื่อตอบสนองผลประโยชน์ทางการค้าในระบบทุนนิยมของชาวตะวันตก การค้าทาสและใช้แรงงานคนผิวดำในอุตสหกรรมเกษตรจึงเปรียบเสมือนกระบวนการทำให้มนุษย์กลายเป็นซอมบี้ (zombification) ในแง่นี้ การค้าทาสกับการเป็นซอมบี้จึงเป็นเรื่องเดียวกัน กล่าวคือชีวิตแรงงานผิวดำและซอมบี้ต่างสูญเสียความเป็นมนุษย์ ถูกลดทอนให้กลายเป็นเพียงวัตถุสิ่งของที่ไร้วิญญาณ อย่างไรก็ตาม การอุปมาอุปไมยเกี่ยวกับ slave/zombie ที่เปรียบเทียบแรงงานทาสเป็นซอมบี้ ถูกโต้แย้งว่า คนผิวดำที่เป็นแรงงานมิได้สูญเสียจิตสำนึกของความเป็นมนุษย์ แต่พวกเขายังมีแรงปรารถนาและความมุ่งมั่นที่จะต่อสู้เพื่อให้ชีวิตอยู่รอด สิ่งนี้จะไม่เกิดขึ้นกับซอมบี้

ระบบอ้างอิงอัตโนมัติฐานข้อมูลผลงานวิชาการ ศมส.

APA

นฤพนธ์ ด้วงวิเศษ. (2564). ซอมบี้ศึกษาในมิติสังคมวัฒนธรรม (Zombie Studies in Sociocultural Contexts). กรุงเทพฯ: ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร. ค้นคืนเมื่อ 9 มกราคม 2568, จาก ฐานข้อมูลงานวิจัย ศมส.: http://sac-research.sac.or.th/article-detail.php?articleID=251

MLA

นฤพนธ์ ด้วงวิเศษ. "ซอมบี้ศึกษาในมิติสังคมวัฒนธรรม (Zombie Studies in Sociocultural Contexts)". ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร,2564, ฐานข้อมูลงานวิจัย ศมส. [ออนไลน์]. ค้นคืนเมื่อ 9 มกราคม 2568 <http://sac-research.sac.or.th/article-detail.php?articleID=251>

HARVARD

นฤพนธ์ ด้วงวิเศษ, 2564. "ซอมบี้ศึกษาในมิติสังคมวัฒนธรรม (Zombie Studies in Sociocultural Contexts)", [ออนไลน์]. กรุงเทพฯ: ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร. จาก ฐานข้อมูลงานวิจัย ศมส.: http://sac-research.sac.or.th/article-detail.php?articleID=251 [ค้นคืนเมื่อ 9 มกราคม 2568]

File Download

File Download Size Download
ดาวน์โหลดบทความ 386.35 KB