| | เข้าสู่ระบบ
แนวทางการศึกษาหลังอาณานิคม (Postcolonialism) ในทางมานุษยวิทยา มุ่งตรวจสอบแบบแผนชีวิตที่เกิดขึ้นในยุคอาณานิคม (colonial life) ซึ่งคนในท้องถิ่นหรือคนพื้นเมืองมีการรับเอาวิธีคิดและวิธีปฏิบัติแบบเจ้าอาณานิคมมาใช้ในปริมณฑลต่างๆ นักมานุษยวิทยาสนใจ “ลัทธิอาณานิคมใหม่” (neocolonialism) ที่มิได้เป็นการปกครองโดยชาวตะวันตก แต่เป็นวัฒนธรรมที่ผลิตซ้ำและสืบทอดอำนาจ ความรู้ โลกทัศน์แบบที่ชาวตะวันตกเคยกระทำต่อคนท้องถิ่น ซึ่งปรับและแปรสภาพไปอยู่ในปฏิบัติการทางสังคมในชีวิตประจำวันของคนท้องถิ่น และในอัฟกานิสถานนักมานุษยวิทยาเน้นเข้าไปศึกษากลุ่มชาติพันธุ์ต่างๆ คลี่ให้เห็นลักษณะพหุวัฒนธรรมและเรื่องราวของชีวิตคนที่หลากหลาย ซึ่งทำให้เห็นว่าดินแดนอัฟกานิสถานมิได้เป็นพื้นที่ทางการเมือง อย่างไรก็ตาม หลังจากที่อัฟกานิสถานถูกปกครองด้วยลัทธิคอมมิวนิสต์ในทศวรรษ 1970 เป็นต้นมา การทำงานวิจัยในพื้นที่ของนักมานุษยวิทยาเป็นไปอย่างยากลำบาก ทำให้ประเด็นการศึกษาในช่วงหลังเน้นไปที่เรื่องอิทธิพลทางการทหารและความขัดแย้งทางการเมือง เช่น การศึกษาการอพยพย้ายถิ่นของประชาชนที่เดือดร้อนจากสงครามกลางเมือง เป็นต้น