ความตายที่โดดเดี่ยว (The Lonely Death)

นฤพนธ์ ด้วงวิเศษ | 19 ตุลาคม 2564

 

คำอธิบาย / บทคัดย่อ

การเผชิญกับความตายในเหตุการณ์ระบาดของโรคโควิด-19 สะท้อนให้เห็นบริบทสังคมและวัฒนธรรมในแต่ละพื้นที่ที่มนุษย์รับมือและให้ความหมายกับความตายของคนที่รักแตกต่างกันไป การตายด้วยโควิด-19 ไม่ใช่ความตายปกติธรรมดาแต่เป็นความตายที่โดดเดี่ยวในเชิงสังคม ศพของผู้ตายจะถูกห่อหุ้มอย่างมิดชิดและถูกนำไปเผาในเวลาอันรวดเร็ว ญาติพี่น้องและคนใกล้ชิดไม่มีโอกาสได้ดูใจ ไม่สามารถเห็นหน้าและสัมผัสกับร่างกายของผู้ตาย สถานการณ์เช่นนี้ได้ตอกย้ำสภาวะ “โดดเดี่ยว” ของผู้ตาย ขณะเดียวกันก็สะท้อนให้เห็นว่าความตายที่ไร้ความอาลัยคือสิ่งที่เจ็บปวดสำหรับมนุษย์ เรื่องท้าทายสำหรับนักมานุษยวิทยาก็คือ สภาวะของคนที่กำลังใกล้ตายจากโรคโควิด-19 สิ่งที่เป็นความต้องการของคนเหล่านั้นคืออะไร ในช่วงเวลาที่ผู้ป่วยอยู่ในสภาวะวิกฤต บุคลากรทางการแพทย์ที่ดูแลผู้ป่วยเหล่านั้นมีวิธีคิดและวิธีการจัดการกับสิ่งที่เกิดขึ้นอย่างไร เรื่องราวเหล่านี้มิใช่เพียงเหตุการณ์ทางการแพทย์ แต่เป็นเรื่องของความสัมพันธ์ที่มนุษย์มีต่อกัน

ระบบอ้างอิงอัตโนมัติฐานข้อมูลผลงานวิชาการ ศมส.

APA

นฤพนธ์ ด้วงวิเศษ. (2564). ความตายที่โดดเดี่ยว (The Lonely Death). กรุงเทพฯ: ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร. ค้นคืนเมื่อ 9 มกราคม 2568, จาก ฐานข้อมูลงานวิจัย ศมส.: http://sac-research.sac.or.th/article-detail.php?articleID=241

MLA

นฤพนธ์ ด้วงวิเศษ. "ความตายที่โดดเดี่ยว (The Lonely Death)". ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร,2564, ฐานข้อมูลงานวิจัย ศมส. [ออนไลน์]. ค้นคืนเมื่อ 9 มกราคม 2568 <http://sac-research.sac.or.th/article-detail.php?articleID=241>

HARVARD

นฤพนธ์ ด้วงวิเศษ, 2564. "ความตายที่โดดเดี่ยว (The Lonely Death)", [ออนไลน์]. กรุงเทพฯ: ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร. จาก ฐานข้อมูลงานวิจัย ศมส.: http://sac-research.sac.or.th/article-detail.php?articleID=241 [ค้นคืนเมื่อ 9 มกราคม 2568]

File Download

File Download Size Download
ดาวน์โหลดบทความ 543.7 KB