| | เข้าสู่ระบบ
ชวนอ่านวารสารมานุษยวิทยาฉบับล่าสุด (ปีที่ 3 ฉบับที่ 2 กรกฎาคม – ธันวาคม 2563) ชวนผู้อ่านเปิดมุมมองต่อ covid-19 ในสถานการณ์ที่เชื้อได้แพร่ระบาดระลอกใหม่ ผ่านแนวคิดชีวอำนาจและชีวการเมืองเป็นมุมมองในการอธิบาย โดยเน้นไปที่นโยบายของรัฐที่นำมาใช้กำกับควบคุมโรค covid-19 ในบทความ เรื่อง ชีวอำนาจ ชีวการเมือง และโรคระบาดวงกว้าง: กรณีศึกษาสถานการณ์โรคโควิด-19 ในประเทศไทย ของ สุมาลี มหณรงค์ชัย รีวิวโดย ธนาวัฒน์ ปัญญานันท์ นักวิชาการที่ดูแลวารสารมานุษยวิทยาของศมส. อย่างใกล้ชิด ตั้งแต่ปลายศตวรรษที่ 20 เป็นต้นมาสุขภาพกลายเป็นประเด็นที่อ่อนไหวอย่างมาก โดยชีวิตของมนุษย์ถูกมองในฐานะของต้นทุน ชีวิตที่มีสุขภาพดีจึงจะสามารถสร้างประโยชน์อันสูงสุดให้แก่ตนเองและสังคมได้ ดังนั้น ในการที่มนุษย์ดูแลรักษาสุขภาพและชีวิตของตัวให้ปลอดภัยดี จะถือเป็นหน้าที่ที่เกี่ยวพันธ์กับมูลค่าทางเศรษฐกิจของสังคมด้วยเช่นกัน